การฝึกเล่น Piano คนเดียว
คือการเล่น Piano เองและร้องเพลงเองครับ การเล่นเพลงคนเดียวหมายความว่าดนตรีทั้งวงเราย่อส่วนเหลือ
ชิ้นเดียว วิธีฝึกของผมมี 4 ขั้นตอนครับ ขึ้นอยู่กับพรขยันของแต่ละคนนะครับ ต้องเล่น Piano พอเป็น อ่านโน๊ต
พอได้ บ้าง ถึงจะเข้าใจ
1 ฝึกจังหวะ ( Timing )
ฝึกมือขวาก่อนเวลาเราฝึก นิ้วมือไล่บันไดเสียง ไม่ว่าจะเป็น ครึ่งเสียงหรือเต็มเสียงต้อง ให้จังหวะคงที่นะครับ
จะเล่นเป็นเขบ็ตชั้นเดียวก็ต้องชั้นเดียวตลอดอย่าเล่นเดี๋ยวช้าเดี๋ยวเร็วใช้ ฮาน้อนก็ได้ครับเอา 1 หรือ 2 ห้อง ก็พอ
Key Piano C D E F G A B C
วิธีหัดครับ 1 2 3 4 5 หมายถึง หัวแม่มือ ชี้ กลาง นาง ก้อย
มือขวา ให้นิ้วหัวแม่มือเป็น 1 ขาไป 1 2 3 1 2 3 4 5 ขากลับเริ่มจากนิ้วก้อย 5 4 3 2 1 3 2 1
มือขวาก่อน เล่นไป กลับ ( ไปหมายถึงซ้ายไปขวา กลับ ขวามาซ้าย ) ให้น้ำหนักนิ้วเท่ากัน จังหวะความเร็ว
ต้องคงที่
มือซ้าย ก็หัดให้เหมือนมือขวา นิ้วก้อยเป็น 5 ไป 5 4 3 2 1 3 2 1 กลับ 1 2 3 1 2 3 4 5
เวลาเล่นให้สะบัดลงไปแต่นิ้วอย่าลงไปทั้งมือนะครับเวลาฝึกหลับตาได้ยิ่งดี ที่ผมบอกว่าให้หลับตาเล่นหมายถึง
การฝึกความแม่นยำของนิ้วมือเรา ตาไม่ต้องมองนิ้วเอาไว้มองโน๊ตหรือเนื้อเพลงครับ เวลาดูโน๊ต นับจังหวะ
ด้วยหู กับตาคือสมมุติว่า เล่น โด เร มี ฟา ซอล C D E F G เวลากดนิ้วลงไปหูก็ฟังไปด้วย พอเล่น โด C ตาดูที่
โด C เล่น เร D ตาก็ ขยับไปที่ เร D อย่างนี้ไปเรื่อยสมองเรา ( By Heart ) เอาไว้อ่านโน้ตหรือเนื้อเพลงครับ
กดนิ้วลงไปเราต้องรู้นะครับว่าเป็นโน๊ตตัวอะไรไม่ใช่กดไปเรื่อยเปื่อย แล้วก็ฝึกมือซ้ายแบบเดียวกับ
มือขวาพอชำนาญทั้งสองมือก็เล่นพร้อมกัน หมายถึงไปทางเดียวกลับทางเดียวกัน แล้วก็เล่นสวนทางกัน
ตอนนี้จะสนุกมากเราจะรู้ว่ามือเราเองแท้ๆ ยังควบคุมไม่ได้เลย ผมให้มือขวากับมือซ้ายทะเลาะกันเกือบ 6 เดือน
ถึงจะคุมได้ เป็นการฝึกแยกประสาทแบ่งตัวเราออกเป็นสองคน มือซ้ายเล่น Bass มือขวาเล่น Chord Melody
เป็นสองคนแล้วยังต้องฝึกคนที่สามอีกนะครับเพื่อให้ร้องเพลงไปด้วนกัน บางคนพูดว่าอ่าน โน๊ตไม่ทัน
เอาอย่างนี้นะ บรรทัดตัวโน๊ต มี 5 เส้น เพิ่ม เส้นเล็ก ข้าง บน และ ข้างล่าง อย่างละเส้น รวม บน ล่าง เป็น 7 เส้น
โน้ต ที่อยู่บนเส้น คือ 1 2 3 4 5 6 7 โด มี ซอล ทรี เร ฟา ลา ( โด เล็กล่าง ลา เล็กบน )
โน้ต ที่อยู่ระหว่างช่องว่างของเส้น คือ 1 2 3 4 5 6 7 ทรี เร ฟา ลา โด มี ซอล ทรี
( ทรี ตัวล่างใต้เล็กล่าง ทรี ตัวบน อยู่บนเล็กบน )
ลองนึกและคิดช้าๆนะครับผม อันนี้ต้องท่องให้ขึ้นใจเหมือน นกแก้วนกขุนทอง เลยนะ
แล้วหาเพื่อนมาสักคนหนึ่งมาเล่น เกมส์ กับเรา ให้เขาเอา ดินสอชี้ให้เราตอบว่า เป็นโน๊ตตัวอะไร
ทำเร็วขึ้นเรื่อยๆ แล้วเราจะเก่งขึ้นเอง ( ถ้าเพื่อนไม่รำมวยใส่เราเสียก่อน )
เวลาที่เราเล่น Piano ตัวโน๊ตในหนึ่ง ห้องถ้ามี 4 จังหวะ คือ 1 2 3 4
วิธีนับจังหวะ ก็คือ จังหวะที่ 1 . 3 นับด้วย ปลายเท้า ข้างซ้าย หัวแม่เท้าก็ได้ จังหวะที่ 2 . 4
นับด้วย ปลายเท้า ข้างขวา หัวแม่เท้าก็ได้ ( เปิด เมโตน่อม ด้วย ) หมายความว่า 1. ซ้าย 2. ขวา 3. ซ้าย 4. ขวา
เราจะได้รู้ว่า เท้าซ้าย จะลงที่ หัวห้อง กับกลางห้อง เสมอจะได้ไม่ ค่อม จังหวะ สายตาเราก็มองโน๊ตไป เรื่อยๆ
ตามความรู้สึกของเท้าเรา ยังไงๆ เท้าซ้าย จะลงที่หัวห้อง กับ กลางห้องตลอดเวลาครับ หรือ โยกตัว ซ้าย ขวา
เอาก็ได้ เหมือนักดนตรี บางคนเขาเล่นไปโยกตัวไปมา เขาใช้การโยกตัวนับจังหวะครับ ถ้าไปจับตัวเขาให้หยุด
เขาจะเล่นต่อไปไม่ได้
ถ้าเป็น เขบ๊ต ให้ลองนับตามนะ ให้เพิ่มคำว่า และ เข้าไปด้วย ยัง นับด้วยปลายเท้าเหมือนเดิม
คือ (1. และ 2. และ 3. และ 4. และ) ( 1. และ 2. และ 3. และ 4. และ ) ในวงเล็บ 1 ชุด เป็น 1 ห้อง
1. คือจังหวะ ตก และ คือจังหวะ ยก
2. คือจังหวะ ตก และ คือจังหวะ ยก
3. คือจังหวะ ตก และ คือจังหวะ ยก
4. คือจังหวะ ตก และ คือจังหวะ ยก
( เขบ๊ต 1 ชั้น 1 ห้อง มี 8 ตัว ตัวที่ 1 3 5 7 จะเป็นจังหวะตก 2 4 6 8 จะเป็นจังหวะยก )
อ่าน ช้าๆ นะครับ
1. และ 2. และ 3. และ 4. และ 1. และ 2. และ 3. และ 4. และ ….. นับ ปลายเท้าตามไปด้วยครับ
นิ้วมือข้างซ้ายเล่นโน๊ตตัวดำ ( 1 ห้องมี 4 ตัว ) นิ้วมือข้างขวาเล่นเขบ็ต 1 ชั้น ( 1ห้องมี 8 ตัว )
จังหวะความเร็วน้ำหนักนิ้วคงที่สะบัดลงไปแต่นิ้วมือเท่านั้นนะ ( อย่าลงไปทั้งมือเราไม่ใช่นักมวย )
แล้วหาตัวโน๊ตที่มีจังหวะต่างกันมาเล่นเช่น มือขวาเล่นตัวดำมือซ้ายเล่นตัว เขบ็ต 3 พยางค์
( ตัวดำหนึ่งห้องมี 4 ตัว 3 พยางค์ เขบ็ต 1 ชั้นหนึ่งห้องมี 12 ตัว )
หรือให้มือซ้ายเล่นตัวดำมือขวา เราจะเอาโน๊ตตัวอะไรก็ได้มาเล่นให้มือมัน
ขัดกันเข้าไว้ เดี๋ยว ก็เก่งเอง ( แต่มือขวาต้องเล่นออกมาให้สามารถเขียนเป็นตัวโน๊ตได้นะครับ
อย่าทำเหมือน ปิดตาตีหม้อนะครับ )
วิธีหัดหยุดนิ้วครับ 1 2 3 4 5 หมายถึง หัวแม่มือ ชี้ กลาง นาง ก้อย
มือขวา ให้นิ้วหัวแม่มือเป็น 1 ขาไป 1 2 3 1 2 3 4 5 ขากลับเริ่มจากนิ้วก้อย 5 4 3 2 1 3 2 1
ให้น้ำหนักนิ้วเท่ากัน จังหวะความเร็วต้องคงที่
มือซ้ายก็หัดให้เหมือนมือขวา นิ้วก้อยเป็น 5 ไป 5 4 3 2 1 3 2 1 กลับ 1 2 3 1 2 3 4 5
พอเล่นได้ตามใจเราแล้ว ให้มือขวาเดินมือซ้ายให้หยุดทีละนิ้ว
หมายความว่ามือขวา เดินไป 1 2 3 1 2 3 4 5 มือซ้าย 5 นิ้วก้อยกดข้างไว้
มือขวา กลับ 5 4 3 2 1 3 2 1 มือซ้าย 4 นิ้วนางกดข้างไว้
มือขวา เดินไป 1 2 3 1 2 3 4 5 มือซ้าย 3 นิ้วกลางกดข้างไว้
มือขวา กลับ 5 4 3 2 1 3 2 1 มือซ้าย 2 นิ้วชี้กดข้างไว้
มือขวา เดินไป 1 2 3 1 2 3 4 5 มือซ้าย 1 นิ้วหัวแม่มือกดข้างไว้
เปลี่ยนเป็นมือซ้ายเดิน มือขวาหยุดบ้างนะครับ ทำเหมือนเดิม ครับผม ต่อไปก็ลองนึกเอาเองว่าจะหยุดนิ้วไหน
เปลี่ยนไปเรื่อยๆนะครับ
ผมขอแนะนำและอธิบายเพิ่มเติมนะครับ ถ้าหาก อ่านแล้วไม่ค่อยจะเข้าใจ ให้อ่านช้าๆ หลายเที่ยวครับ
ท่านที่มี Piano อยู่ที่บ้านก็ลองกด Piano ตามที่ผมบอกนะครับ คือว่าการจะหัดเล่น Piano คนเดียว ต้องรู้และ
ต้องฝึกอย่างที่ผมบอกน้อยกว่านี้ หรือไม่รู้ จะไปไม่ถึงดวงดาวครับ จะรู้สึกเบื่อตัวเอง แล้วก็จะหงุดหงิด
ผมเองศึกษาตำรา ทฤษฎีจากอเมริกาและ ยุโรป ไม่อยากบอกชื่อกลัวมีความผิดครับ ทดลอง ผิดทดลอง ถูก
อยู่ 29 ปีเต็ม ก็คิดได้ว่า ต้องเปลี่ยน วิธีหัด Piano มาเป็นอย่างที่ผมเล่าให้ฟัง ถึงจะเล่นคนเดียวได้ครับ
ผมเล่นดนตรีอาชีพมา 49 ปีแล้ว เครื่องดนตรีที่ผมเล่นอยู่เป็นประจำ มี Piano Saxophone Clarinet Flute
และร้องเพลงด้วย วิชาที่ผมแนะนำให้นั้น เอาแต่ที่ดีๆ บางอย่างก็คิดขึ้นมาเอง เพื่อให้เข้าใจและเป็นไปได้
2 หัดฟังเพลง Ear Training
ฝึกใช้หูครับ ( ภาษานักดนตรีเรียกว่า แก๊ะเพลง ) บันไดคอร์ด Diatonic Chord ในที่ผมจะยกตัวอย่าง
Key C ก่อนนะครับ ผมจะ Voice เป็น 4 ตัวโน๊ตนะครับ
C D E F G A B C โด เร มี ฟา ซอล ลา ทรี โด
1. C E G B โด มี ซอล ทรี เรียกว่า C Major7 ซี เมเจ่อร์ เซเว่น 1 3 5 7
2. D F A C เร ฟา ลา โด เรียกว่า Dm7 ดี ไมเน่อร์ เซเว่น 2 4 6 8 ( 8 = 1 )
3. E G B D มี ซอล ทรี เร เรียกว่า Em7 อี ไมเน่อร์ เซเว่น 3 5 7 9 ( 9 = 2 )
4. F A C E ฟา ลา โด มี เรียกว่า FMajor7 เอฟ เมเจ่อร์ เซเว่น 4 6 8 10 ( 8 = 1 , 10 = 3 )
5. G B D F ซอล ทรี เร ฟา เรียกว่า G7 จี เซเว่น ( โดมิแน้นท์ ) 5 7 9 11 ( 9 = 2 , 11 = 4 )
6. A C E G ลา โด มี ซอล เรียกว่า Am7 เอ ไมเน่อร์ เซเว่น 6 8 10 12 ( 8 = 1 , 10 = 3 , 12 = 5 )
7. B D F A ทรี เร ฟา ลา เรียกว่า Bm7b5 บีไมเน่อร์ เซเว่นแฟล๊ตไฟว์ 7 9 11 13 ( 9=2,11=3,13= 6 )
รวมกันได้ 7 Chord คือ
1.CMajor7 2.Dm7 3.Em7 4.FMajor7 5.G7 6.Am7 7.Bm7b5
จะเห็นว่า ชื่อของ Chord จะมีคำต่อท้ายข้างหลังเหมือนเดิม เช่น
1. เมเจ่อร์ เซเว่น Major7
2.ไมเน่อร์ เซเว่น Minor7
3.ไมเน่อร์ เซเว่น Minor7
4. เมเจ่อร์ เซเว่น Major7
5. เซเว่น 7 ( โดมิแน้นท์ )
6.ไมเน่อร์ เซเว่น Minor7
7.ไมเน่อร์ เซเว่น แฟล๊ตไฟว์ Minor7b5
วิธีจำก็คือ
1 , 4 เป็น เมเจ่อร์ เซเว่น Major7
5. เซเว่น 7 ( โดมิแน้นท์ )
2 , 3 , 6 เป็น ไมเน่อร์ เซเว่น Minor7
7. ไมเน่อร์ เซเว่น แฟล๊ตไฟว์ Minor7b5
เป็น สูตร ตายตัวเลย เปลี่ยนก็แต่เพียงตัว อักษร นำหน้าเท่านั้น
คำว่า 7 ( เซเว่น ) หมายความว่า ตัวที่ 7 ของ Scales Key นั้นๆ เป็น Flat
Key C ตัวที่ 7 ก็คือ B ถ้า เขียนว่า Chord C7 คือ C E G Bb 1 3 5 7
คำว่า Major7 ( เมเจ่อร์ เซเว่น ) หมายความว่า ตัวที่ 7 ของ Scales Key นั้นๆ เป็น
ตัวธรรมดา
Key C ตัวที่ 7 ก็คือ B ถ้า เขียนว่า Chord CMajor7 คือ C E G B 1 3 5 7
เปลี่ยนเป็นการ คิด Chord อื่นๆ ถ้าเป็น
Key D ก็ เอา D มาเริ่มต้น D = 1
Key E ก็ เอา E มาเริ่มต้น E = 1 ลองฝึกเขียนดูนะครับ ต้องฝึกเล่นทุก Chord
แล้วจำเสียงให้ได้สำคัญมาก
ชื่อเต็มๆของโน๊ต Key C
Fist Tonic = C (Chord Key Note)
Second Supertonic = D (The Note Above Tonic)
Third Mediant = E (The Note Midway Between Tonic And Dominant)
Fourth Subdominant = F (The Lower Dominant)
Fifth Dominant = G (Next In Importance To The Tonic)
Sixth Submediant = A (Midway Between Tonic And The Lower Dominant)
Seventh Leading Note = B (Leads To The Tonic )
ผมมีความจำเป็นต้องเขียนเป็นภาษา ของเขานะครับ เพราะบางคำ แปลแล้วไม่ค่อยจะเข้าใจครับ
ตัวอย่างเช่น Sixth Submediant Midway Between Tonic And The Lower Dominant
ผม นั่ง งง อยู่ ตั้งนาน ว่า พูดย่างไรถึงจะเข้าใจ แปลตรงๆว่า อยู่กลางระหว่างตัวที่ 1 กับตัวต่ำกว่าตัวที่ 5
( ตัวที่ 5 เป็น G ) มันก็คือตัว F เห็นไหมครับ ทำไม่เขาไม่บอกว่า Submediant คือ A อยู่กลางระหว่าง F กับ C สูง
ผมจะยกตัวอย่าง ทางเดินของคอร์ด ( Pattern ) แบบง่ายๆ สัก 4 ทาง ผมจะเรียก ชื่อ Chord เป็นตัวเลขนะครับ
ทางเดิน Key C
1. CMajor7 2. Dm7 3. Em7 4. FMajor7 5. G7 6. Am7 7. Bm7b5
ทางเดิน ที่ 1 คือ CMajor7 Am7 Dm7 G7 CMajor7 1 6 2 5 1
ทางเดิน ที่ 2 คือ CMajor7 EbDim7 Dm7 G7 CMajor7 1 3bDim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 3 คือ CMajor7 C#Dim7 Dm7 G7 CMajor7 1 1#Dim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 4 คือ CMajor7 C7 FMajor7 Fm CMajor7 1 5/4 4Major7 4m 1
( C7 เป็น 5 ของ F ) F คือตัวที่ 4 ของ Key C
ทางเดิน ที่ 4 ส่วนมากจะใช้ในท่อนสุดท้าย หรือตอนจบ เพลงทุกเพลงจะมี Chord หลักอยู่ประมาณนี้
ถ้าผิดไปจากนี้บ้างก็จะเป็น Sub Chord ( Chord แทนครับ ค่อยพูดทีหลังนะครับ )
เมื่อเราได้ฟัง Melody เราจะพอฟังออกว่าเป็น Chord อะไรถ้าเสียงตกตัว A
ก็อาจจะเป็น Chord Am7 Dm7 FMajor7 ทั้งนี้ต้องใช้ เสียง Bass เป็นตัวเรียกชื่อ Chord นั้นๆ
Key ดนตรีมีอยู่แค่ 12 Key แต่สามารถสร้างทางเดินของ Chord ได้มากกว่า1500 ทาง
เสียงโน๊ตของดนตรี จะวนเป็นวงกลม และซ้อน สูงขึ้นเรื่อยเหมือน ขดสะปลิง ตัวโด C …ถึง โด C
อีก Octave หนึ่งจะวนมาพบกัน แต่อยู่ คนละชั้นขึ้นไปเรื่อยๆ ความแปลกอย่างหนึ่งของนักดนตรี
ก็เป็นวงกลมเหมือนกันจากที่เล่นไม่เก่งเล่นไม่เป็น กับคนที่เล่นเก่งมากเราจะฟังไม่รู้เรื่อง เหมือนกันครับ
มาต่อกันเลยครับ ต้องขอบอกก่อนนะครับ ว่าตอนที่ 2 นี้จะมีมากหน่อย เพราะมันคือพื้นฐาน
ของการเล่นดนตรีครับ ยกตัวอย่างให้ฟังง่ายๆ ถ้าหากเราจะสร้างตึกสัก 4 – 5 ชั้นก็เอาสัก 20 – 30%
ถ้าสร้าง 50 – 100 ชั้นก็ต้อง เต็ม100% เลยนะครับ อีกอย่างหนึ่งคือว่าการเล่นเป็นวงมีหลุดได้หยุดกินน้ำได้
แล้วค่อยตามไปตะครุบเอาในห้องถัดไป แต่เล่นคนเดียวหลุดไม่ได้ต้อง 100% ครับ
การเล่นดนตรี มีอยู่ 2 แบบ นักดนตรีก็มีอยู่ 4 ประเภท
แบบที่ 1 ต้องการไปเป็น ครูหรือนักวิชาการ ต้องเรียนประวัติของเพลงผู้แต่งเพลงวันเดือน ปี ประเทศ ทวีป
(โอ๊ย… เหนื่อยแทน )
แบบที่ 2 ต้องการเป็นนักดนตรี อาชีพไม่ต้องไปสนใจแบบอย่างที่ 1 ครับมันจะหากินไม่ได้
เพราะต้องไปร้องเพลง เล่นดนตรี ให้ลูกค้าฟัง ขืนไปเล่าเรื่องเพลง ผู้แต่งเพลงไม่มีใครที่ไหนจะมาจ้างเรา
ต้องฝึกอย่างที่ผมบอกครับ
นักดนตรี ประเภทที่ 1 เล่นดนตรี เพราะต้องการ ให้โดดเด่นในหมู่เพื่อน ฝูง และเพศตรงข้าม
นักดนตรี ประเภทที่ 2 พ่อแม่บังคับให้เล่นดนตรี ( เรียน )
นักดนตรี ประเภทที่ 3 ไม่รู้จะทำงานอะไรดี เล่นดนตรีดีกว่า ง่ายดี
นักดนตรี ประเภทที่ 4 เล่นดนตรี เพราะใจรัก
ครับที่ผมอธิบาย ยาวเหมือนขบวนรถไฟ ก็อยากจะให้ ได้คิดว่าตัวเองจะไปอยู่จุดไหน แบบไหน
ประเภทไหน จะได้ไม่ต้องเสียเวลาทำมาหากินครับ เหมือนผม เสียเวลา วก วน อยู่ 29 ปี เพิ่งจะมาคิดได้
เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมานี่เอง
เข้าเรื่องเลยนะครับ อันนี้ต้องจำ และเล่นให้ได้ Chord แทน ผมใช้ตัวเลขนะครับ Chord แทน หรือ Sub.
Chord. Key C
1. CMajor7 2. Dm7 3. Em7 4. FMajor7 5. G7 6. Am7 7. Bm7b5
3 , 6 แทน 1, ( Em7, Am7 แทน CMajor7 )
6 , 2 แทน 4, ( Am7, Dm7 แทน FMajor7 )
2b7 แทน 5, ( Db7, แทน G7 )
7m7b5 แทน 5, ( Bm7b5, แทน G9 )
2m7b5 แทน 4m6, ( Dm7b5, แทน Fm6 )
จะเห็นได้ว่า Key หนึ่ง จะมี Chord ที่สามารถ เป็น Chord 1 ได้ 2 Chord
คือ Tonic กับ Subdominant ( CMajor7 กับ FMajor7 )
Chord b9 ใช้ตอน Adlib กับ Chord Dominant
Chord b 5 ใช้ตอน Adlib กับ Chord Dim7, Minor, Minor6, Minor7
Chord 11 ( Sud 4 ) ใช้ตอน Adlib กับ Chord Minor7, Major7, Dominant ( ลองรับด้วย 9 )
Chord 9 ใช้ตอน Adlib กับ Chord Minor7, Minor6, Major7, Dominant ( ลองรับด้วย 6 หรือ 7 )
Chord 6 ใช้ตอน Adlib กับ Chord Minor , Major
ที่จำเป็นก็มีเท่านี้ Extensions หรือ Non chord tone อยู่ที่ Melody อยู่แล้ว ( เสียงร้อง )
จะเอาตัวอื่นมาเล่นก็ได้ ผมลองแล้ว ไม่ค่อยจะรื่นหูนัก
การจับ Chord มือซ้าย ซึ่งเราต้องเดิน Bass ด้วยนั้น จับ 1 3 5 นิ้วก้อย จะต้องเป็น Tonic ตลอด
มือขวา จับ 5 1 3 ( งง ตอนให้ฝึกทฤษฎี ให้จับ 4 ตัวโน๊ต ตอนนี้บอกจับ 3 ตัว ) เหตุผล จับ 3 ตัว
เราจะเล่นได้เร็วกว่า จับ 4 ตัวครับ การจับมือขวาเป็น 5 3 1 นั้น เปลี่ยน Chord มือขวาได้ ง่าย
ตัวอย่าง C ไป Am7 เราย้ายนิ้วหัวแม่มือมาเป็น 6 นิ้วก้อยไป 5 อีก Octave
C ไป G7 เราย้ายแต่นิ้วชี้ นิ้วกลางกับก้อย ไป 7 2 4
Chord อื่นๆ ก็ลอง หัดเปลี่ยนดูนะครับ ไม่ต้องยกไปไกลๆ ข้ามไป ข้ามมา นะครับ ไม่ต้องกลัว Chord
จะพลิกกลับเพราะมือซ้ายยืน Tonic อยู่แล้ว
CADENCE
เป็นทางเดิน Chord อีกแบบหนึ่ง ที่เห็นอยู่เสมอ เป็น Chord ที่ใกล้กัน
เช่น C F C G F G C F G7/ C แบบนี้ครับ จะจบประโยค ต้อง Chord 5 มา Chord 1 ( Key C ก็ G7/C )
จะสลับ Chord อย่างไรก็ได้ ต้องเป็น Chord 1 4 1 5 4 5 1 4 1 5/1 ( 1=C 5=G 4=F ) เปลี่ยนเป็น
Key อื่น ก็เอาตัวเลขไปแทนเอานะครับ ( Key Bb, Bb =1, Key Eb, Eb =1, Key Ab, Ab =1 )
DOMINANT Motion
เป็นทางเดิน Chord 5 อีกแบบหนึ่ง
คือ G7 C7 F7 Bb7 Eb7 Ab7 Db7 Gb7 ( F#7 ) B7 E7 A7 D7 กลับมา G7 จะวนกลับมาที่เดิม
( Gb7,F#7 คือตัวเดียวกัน ) ถ้าจะหยุดก็ต้อง ไม่มีเลข 7 ห้อยท้ายถ้าเขียนเป็นตัวเลขก็คือ 5 5 5 5 5 5/1
หรือ G7 /C คือ 5 / 1 Key C C7 F = 5 / 1 Key F F7 Bb = 5 / 1 Key Bb เป็นต้น
( ใช้ตอนเราเปลี่ยน Key ) แต่เสียง จะแข็งไปหน่อย ถ้าหาก ระหว่าง 5 กับ 5 จะไป 1 ขั้นด้วย
Chord 2 ก็จะดีขึ้น ( D7 Dm7 G7 / C ) เช่น
D7 Dm7 G7/C Dm7=2 ของ C G7 Gm7 C7/F Gm7=2 ของ F
C7 Cm7 F7/Bb Cm7=2 ของ Bb F7 Fm7 Bb7/Eb Fm7=2 ของ Eb
Bb7 Bbm7 Eb7/Ab Bbm7=2 ของ Ab Eb7 Ebm7 Ab7/Db Ebm7=2 ของ Db
Ab7 Abm7 Db7/Gb Abm7=2 ของ Gb ( Gb=F# ) Db7 Dbm7 Gb7/Cb Dbm7=2 ของ Cb ( Cb=B )
F#7 F#m7 B7/E F#m7=2 ของ E B7 Bm7 E7/A Bm7=2 ของ A
E7 Em7 A7/D Em7=2 ของ D A7 Am7 D7/G Am7=2 ของ G
AUGMENTATION
นักดนตรีไทยเราเรียก อ๊อกเมนเต๊ท ก็คือ Chord + ตัวที่ 5 ของ Key เป็น # ( ครึ่งเสียง )
ถ้า Key C ก็ เป็น G# Key C 1 Octave จะมี 12 Semitone
Chord Aug. มีวิธีคิด เป็นตัวเลข ดังนี้ 2+2+2
C E ห่างกัน 2 Semitone
E G# ห่างกัน 2 Semitone
G# C ห่างกัน 2 Semitone
ตกลงได้ว่า 1 Octave จับ Chord Aug ได้ 4 Chord คือ CAug C#Aug DAug EbAug
แต่ เปลี่ยน เป็น 12 Chord ได้ ด้วยการย้าย Bass ( Tonic )
ตัวอย่างเช่น CAug มี C E G#
Bass อยู่ที่ C เรียกว่า CAug
Bass อยู่ที่ E เรียกว่า EAug
Bass อยู่ที่ G# เรียกว่า G#Aug ( งงหรือเปล่าครับ )
ทำอย่างนี้ ทั้ง 4 Chord ก็จะได้ 12 Chord ครับ
DIMINUTION ( Diminished )
นักดนตรีไทยเราเรียก ดิม ครับ Dim หมายถึง ต่ำลงนิดหนึ่ง
Key C ถ้าเป็น Dim ก็คือมีตัวโน๊ต C E G ( ตัว C ไม่นับ เริ่มที่ E G ต่ำลงนิดหนึ่ง ) ก็คือ C Eb Gb ( F#)
เรียกว่า Dim
ถ้าเป็น Dim7 ก็คือC E G Bb ( ตัว C ไม่นับ เริ่มที่ E G Bb ต่ำลงนิดหนึ่ง ) ก็คือ C Eb Gb (F#) A
เรียกว่า Dim7 ถ้าจับ 3 ตัวโน๊ต C Eb F# เรียกว่า CDim ถ้าจับ 4 ตัวโน๊ต C Eb F# A เรียกว่า CDim7
มีวิธีคิด เป็นตัวเลข ดังนี้ 1 1/2 + 1 1/2 + 1 1/2 คือ 1 เสียงครึ่ง +1 เสียงครึ่ง +1 เสียงครึ่ง
C Eb ห่างกัน 1 1/2 เสียง ( 3 Semitone )
Eb F# ห่างกัน 1 1/2 เสียง ( 3 Semitone )
F# A ห่างกัน 1 1/2 เสียง ( 3 Semitone )
A C ห่างกัน 1 1/2 เสียง ( 3 Semitone )
Key C 1 Octave จับได้ 3 Chord คือ CDim7 C#Dim7 DDim7
แต่ เปลี่ยน เป็น 12 Chord ได้ ด้วยการย้าย Bass ( Tonic )
ตัวอย่างเช่น CDim7 มี C Eb F# A
Bass อยู่ที่ C เรียกว่า CDim7
Bass อยู่ที่ Eb เรียกว่า EbDim7
Bass อยู่ที่ F# เรียกว่า F#Dim7
Bass อยู่ที่ A เรียกว่า ADim7
ทำอย่างนี้ ทั้ง 3 Chord ก็จะได้ 12 Chord ครับ
คำว่า Diminished
ผมคัดลอกมาจาก The Concise Oxford Dictionnary Of Music ครับ
Diminished Intervals. Perfect or minor intervals which are reduced
chromatically by a semitone are diminished intervals. For practical
purpose this term is useful only when applied to the diminished 5th
(semitone less than perfect 5th) and diminished7th (semitone less than minor7)
Diminished Triad, A*triad of which the 5th is diminished.
Diminuedo (it). diminishing, i.e. gradually getting quieter
Diminution. Shorterning of the time-values of the notes
of melodic parts. Opposite of *Augmentation, In Canon
by Diminution the imitating vv. are in shorter note
than the one they are imitating.
สำหรับหัวข้อที่ 1 และ 2 ถ้าเปรียบเป็นการวาดรูปก็เพียงแค่เตรียมเครื่องไม้ เครื่องมือที่จะใช้เท่านั้น
หัวข้อที่ 3 จะเป็นการขึ้นรูปลงสีพื้นว่าเราจะวาดภาพไปในแนวไหน
หัวข้อที่ 4 เป็นการระบายสีเก็บรายละเอียดของภาพครับอันนี้ต้องขึ้นอยู่กับพรขยันของแต่ละคนว่า
จะทำดีได้แค่ไหนครับผม ( คำคมของกะเหรี่ยงพูดเป็น ภาษา อีสาน ว่าของ แซบอยู่ ตี่ ผู่ มั๊ก )
ภาคพิเศษ ขยายข้อความ และอธิบาย เพิ่มเติม หัวข้อที่พูดมาทั้งหมด บันไดเสียง บันไดคอร์ด
เป็น Major Scale นะครับ Minor Scale เป็นอีกทาง ไม่เหมือนกันครับ บันไดโน๊ต
Major Scale 1 2 3 4 5 6 7 8 (1) 8 และ1 เป็นตัวเดียวกัน แต่คนละ Octave เอาไว้เรียกชื่อ ขั้นคู่ 8
Key C ตัวโน๊ต C D E F G A B C
จากโน๊ต C ไป D ไป E ห่างกัน 1 เสียง หรือ 2 Semitone
จากโน๊ต E ไป F ห่างกัน ครึ่ง เสียง หรือ 1 Semitone
จากโน๊ต F ไป G ไป A ไป B ห่างกัน 1 เสียง หรือ 2 Semitone
จากโน๊ต B ไป C ห่างกัน ครึ่ง เสียง หรือ 1 Semitone
( จะเห็นได้ว่า มี 3-4 กับ 7-8 สองคู่ ห่างกันครึ่งเสียง )
วิธี หา Key แบบง่ายๆ สมมุติ ว่า หา Key A ( เอา A เป็น 1 )
Key A 1 2 3 4 5 6 7 8 A B C D E F G A ( C-D, G-A ต้องทำให้เป็นครึ่งเสียง )
จะเห็นว่า B กับ C ห่างกันครึ่งเสียง ทำให้เป็น 1 เสียง โดยการ ให้ C เป็น C# , C# กับ D ก็จะเปลี่ยนมาเป็น
ครึ่งเสียง ถูกต้องตามตัวเลขที่ผมเขียนไว้ข้างบน ( 3, 4 ) E กับ F ห่างกันครึ่งเสียงทำให้เป็น 1 เสียง
โดยการให้ F เป็น F# พอ F เป็น F# ก็จะห่างกับ G ครึ่งเสียงทำให้เป็น1 เสียงโดยการให้ G เป็น G#, G# กับ A
ก็จะเปลี่ยนมาเป็นครึ่งเสียงถูกต้องตามตัวเลข ผมเขียนไว้ข้างบน ( 7, 8 ) นักดนตรีจะเรียก
Key A ว่า Key 3# ( F#, C#, G# )
Key อื่นๆก็ทำแบบนี้ ลองทำดู นะครับ
อาจจะมีหลายๆคนสงสัยว่า ทำไมผมไม่พูดถึงวิธี จับ Chord เหตุผลก็เพราะว่า หากเราได้ฝึกนิ้วจนมีกำลัง
และควบคุมนิ้ว ของตัวเองได้ เข้าใจทางเดินของบันไดเสียง เข้าใจทางเดินของบันได
Chord แล้ว หลับตา เรายังจะเห็น Chord ทุกๆ Chord ว่ามีตัวอะไรบ้าง เพียงแต่เรานึกมือก็จะไป โดย อัตโนมัต
( แต่ต้องฝึกอย่างที่ผมบอกนะครับ ) อีกอย่างหนึ่ง ร่างกายของคนเราก็ไม่เหมือนกัน ฝรั่งนิ้วมือของเขา
ยาวกว่าของพวกเรา บางคน จับคู่ 8 ต้องกางนิ้วจนปวดมือเลย มันจะทำให้มือเรา ถูก ล๊อก เล่นออกมา
ตะกุก ตะกัก Timing จะเสียเอาง่ายๆ
ฝึกอย่างผมบอกแล้วจะเคลื่อนไหวนิ้วมือได้รวดเร็วเท่ากับความคิดของเราการเรียนแต่ตำรา
หรือวิธีการใดๆจนเข้าใจทะลุปรุโปรงจะใช้ได้ กับคนทำงานธรรมดาทั่วๆไป แต่ใช้ไม่ได้กับนักดนตรี
และนักมวยครับต้องฝึกหนักเป็น 10 เท่าที่เราอ่านตำรามา การเล่นดนตรี ไม่มีโอกาสให้เราหยุดคิดได้
แม้จะสัก 1 วินาที ครับ
ข้อสำคัญ มือซ้ายต้องเล่นTonic ให้ชัด มือขวาเล่นอะไรก็ได้ ( อ๊ะ ทำไม่พูดอย่างนั้น ) มาลองดูกัน
ถ้ามือซ้ายจับ Chord Tonic Key C มือขวา กด C# ( ก็คือ b9 ) กด D ( ก็คือ 9 ) กด Eb
( ก็คือ Minor Third ) กด F# ( ก็คือ b5 ) กด Ab ( ก็คือ b13 ) กด Bb ( ก็คือ 7 ) E F G A B ไม่ต้องพูดถึง
อยู่ใน Scale C อยู่แล้ว
Chord ที่เลข 7 ตามหลัง จะเรียกว่า Dominant ยกเว้น Chord เพลง Blues ทุก Chord เป็น 7 หมด
เช่น C7 C7 C7 C7 F7 F7 C7 C7 F7 G7 C7 C7 ( 12 Bars ) เพลง Rock ยุค Sixty จะมีทาง Chord แบบนี้มาก
ผมต้อง กราบขออภัยบรรดา ครูสอน ดนตรี ทุกท่านนะครับ ที่ผมสอนแบบนี้ เพราะผมอยากให้รู้เนื้อๆ
อย่างเดียวไม่เอาน้ำ ตัดที่ไม่จำเป็นออกให้หมดจะไม่ต้องเสียเวลาทะลวงลงไปให้ถึงสะดือโลก ( ดนตรี )
ผมอยากจะอธิบายข้อความบางอย่างที่ผมข้ามไป เพราะเห็นว่าไม่สำคัญและใช้ไม่ได้กับการเล่น Piano
คนเดียว เพราะจะกลายเป็นวิชา Arrangement ( เรียบเรียงเสียงประสาน ) ครับ
UNISON ของThe Concise Oxford Dictionary of Music Unison Sounding of the same note by all perf., e.g.
Unison singing, everyone singing the same tune but not in harmony
INTERVALESของ RUDIMENTS And THEORY Of MUSIC
An intervals in music is the distance in pitch from one note to another Intervals are measured by
the number of letter name frome the lower note to the upper, both of which are included in the count.
Thus, From C to D there are only two letter names included. This is, therefore an intervals of a second. Intervals
คำว่า UNISONและ INTERVALES
เริ่มที่ UNISON หมายถึงเครื่องคนตรี หลายๆชิ้นเล่นพร้อมกันหรือนักร้องหลายคนร้องเสียงเดียวกัน
เครื่องดนตรีก็จะแยกเป็น เสียง Baritone Tenor Alto Soprano Trumpet Trombone
( แต่เป็น เครื่อง C, Bb, Eb, ) โน้ต ตัวเดียว เสียงเดียวกัน เขียนอยู่ คนละตำแหน่ง
นักร้องก็จะแยกเป็น เสียง Bass Baritone Tenor Alto Soprano เหมือนกัน ถ้าหากร้องพร้อมกันหรือ
เล่นพร้อมกันเสียงออกมาจะเป็นคู่ 8 16 24 ครับ เรียกว่า All Perfect, But not in Harmony ครับ
ดูตัวอย่างที่ นิ้ว Piano จะเห็นว่า มี 88 ตัว 7 Octave เพิ่ม C สูง 1 ตัว กับ B Bb A ต่ำอีก 3 ตัว
เขาอยากให้เสียงกว้าง เหมือนเราจับ Piano คู่ 8 สองมือ แต่ละมือห่างกัน คู่ 8 ( 6 เสียง )
ผมจะข้ามเรื่อง Harmony นะครับ มันเป็นอีกวิชาหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับการ เล่น Piano คนเดียว
เรื่องนี้ผมเอามาจาก The Concise Oxford Dictionary of Music
INTERVALS
ผมเอามาจาก RUDIMENTS And THEORY Of MUSIC ของ The Royal Schools of Music ครับ
คำว่า Intervals แปลว่า เวลาพัก หรือ การห่าง ของเสียง ( ขั้นคู่ ) ไหนๆ ก็พูดมามากแล้ว ผมจะเอา
ขั้นคู่มาให้ดู ทั้งหมดเลยนะครับ
C กับ D เป็น maj.2nd
C กับ E เป็น maj. 3rd
C กับ F เป็น perf. 4th
C กับ G เป็น perf. 5th
C กับ A เป็น maj. 6th
C กับ B เป็น maj. 7th
C กับ C เป็น perf. 8ve
C กับ Db เป็น min. 2nd
C# กับ D เป็น min. 2nd
C กับ Eb เป็น min. 3rd
C# กับ E เป็น min. 3rd
C กับ Ab เป็น min. 6th
C# กับ A เป็น min. 6th
C กับ Bb เป็น min. 7th
C# กับ B เป็น min. 7th
( min. 4 5 8 ไม่มี )
C กับ Dbb ( ดับเบิ้ลแฟล๊ต) เป็น dim. 2nd
C# กับ Db เป็น dim. 2nd
C กับ Ebb ( ดับเบิ้ลแฟล๊ต) เป็น dim. 3rd
C# กับ Eb เป็น dim. 3rd
C กับ Fb เป็น dim. 4th
C# กับ F เป็น dim. 4th
C กับ Gb เป็น dim. 5th
C# กับ G เป็น dim. 5th
C กับ Abb ( ดับเบิ้ลแฟล๊ต) เป็น dim. 6th
C# กับ Ab เป็น dim. 6th
C กับ Bbb ( ดับเบิ้ลแฟล๊ต) เป็น dim. 7th
C# กับ Bb เป็น dim. 7th
C กับ Cb เป็น dim. 8ve
C# กับ C เป็น dim. 8ve
C กับ D# เป็น aug.2nd
Cb กับ D เป็น aug.2nd
C กับ E# เป็น aug.3rd
Cb กับ E เป็น aug.3rd
C กับ F# เป็น aug. 4th
Cb กับ F เป็น aug. 4th
C กับ G# เป็น aug. 5th
Cb กับ G เป็น aug. 5th
C กับ A# เป็น aug. 6th
Cb กับ A เป็น aug. 6th
C กับ B# เป็น aug. 7th
Cb กับ B เป็น aug. 7th
C กับ C# เป็น aug. 8ve
Cb กับ C เป็น aug. 8ve
ทั้งหมดมีเท่านี้เองครับ เห็นไหมครับ เราต้องใช้เวลานานเท่าไร ถึงจะจำได้หมด ซึ่งมันไม่ได้เกี่ยวกับ
การเล่น Piano เลย
ตอนที่ 3 Touching
การ สัมผัสดนตรี นะครับ ( ถ้าเป็นการ วาดภาพ ก็จะลง สีแล้วนะครับ ) เอาให้แน่ใจนะว่าเราผ่าน
ตอนที่ 1 , 2 มาได้จริงๆอย่าโกหกตัวเองนะครับ ถ้าไม่ได้แล้ว ข้ามมา ตอนที่ 3 ยิ่งจะไม่รู้เรื่องนะครับ
( เล่นไม่ได้ แล้วอย่ามา โทษกันนะครับ )
ทวนอีกนิดหนึ่งก็ได้
Timing ( เดินจงกลมใช้มือแทนเท้านะครับ ) นั้นหมายถึงความนึกคิด จิตใจของเราต้องตาม
นิ้วมือทั้งสองข้าง ของเรา เองให้ได้ ให้ทันว่า นิ้วมือข้าง ซ้าย เล่นโน้ต ตัวอะไรอยู่ และกำลังจะไปตัวอะไร
นิ้วมือ ข้างขวา ก็เหมือนกัน เพราะว่า ถ้าสมองเรา สั่งแล้วนิ้วไม่ทำตาม แปลว่า ไม่ผ่าน
( อ่อนซ้อมไปหน่อย ถูกน๊อค ลูกเดียว ) จะเล่นได้หรือไม่ได้ ก็ที่นิ้วมือเราเองนี่แหละ จะหลุดเป็นประจำ
Ear Training ( นั่งทางใน ) ฝึกทางเดินของ Chord อย่างน้อยให้ได้สัก 5 Key นะครับ
Key C, Key G , Key D, Key F, Key Bb, ได้มากกว่า ยิ่งดี น้อยกว่าไม่ดีแน่ ทางเดินของ Chord ที่ผมเขียนไว้
ในตอนที่ 2 นะครับ ฝึกจำเสียงให้ได้ ( หู ) หมายความว่า เวลาเราฟังเพลง ดนตรีไปทางไหน เราตามไปได้หมด
( อย่าหยุดร้องก็แล้วกัน อ๊ะ. )
ยกตัวอย่าง พื้นที่ไน ก ท ม. ถนนทุกๆสาย เราออกจากบ้านไปทุกๆวัน ทุกๆที่ จนเราหลับตา
ก็จำได้หมด พอไปถึงถนน ราชดำเนิน เราจะรู้ได้ทันทีว่าข้าง หน้า หลัง ซ้าย ขวา จะไปที่ไหน ( ไม่หมูนะ )
เข้าเรื่องเลยนะเอาเพลงมาฟังว่าเราจะเริ่มจังหวะไหนก่อน ( จังหวะ สะโลว์ โบเรโล บีกิน ชะช่า ช่า
บ๊อป โซล ร๊อก แจ๊ส…….) อะไรก่อนก็ได้ มา 1 ตัวอย่าง
ตามธรรมดาของเพลงทั่วไป กลองใหญ่ ( ใช้เท้าเหยียบ Bass Drum ) คือทางเดินของ Bass กลอง
ไม่มี Melody ( นอกจาก Timpani คลาสสิก ) กลองแต๊ก Snare คือทางเดินของจังหวะ Chord
( Rhythm ) ใครมีเพื่อนเล่นกลองถามเขาได้
เอาเพลงที่เราชอบก็ได้มาฟังว่า Key อะไร มี Chord อะไรบ้าง เขียนออกมา พอเป็น แนวทาง
เขียน Melody และทางเดินของ Bass ด้วย เอามาฝึก Bass กับจังหวะ Chord ให้จนเราเข้าใจว่าหน้าตา
เพลงเป็นอย่างนี้นะ ให้ได้ Feeling ว่างั้นเถอะพอ Timing เราได้แล้วให้มือซ้ายยังเล่น Bass อยู่จังหวะ
( Rhythm ) เก็บไว้ในใจเรา เอาไว้บังคับมือซ้าย ให้เดินจังหวะให้ได้คงที่ มือข้างขวาเล่น Melody
( ถ้าโน๊ตตัวยาวหน่อยก็เล่น Chord ด้วยก็ได้ ) ฝึกเล่น หลายๆเที่ยวจนไม่มีหลุด จะเกิดความคิดขึ้นมาเองว่า
เราจะ เล่นหนัก เล่นเบา ในช่วงไหน ตอนไหน ตัดตรงไหน เพิ่มตรงไหน แต่ต้องอย่าให้ผิดไปจากต้นฉบับ
มากเกินไป จนจำเพลงเดิมไม่ได้นะครับ ถ้าเป็นเพลงไทยเราก็ดู ที่เนื้อเพลงว่า เขากำลังพูดถึงเรื่องอะไร
ไม่ใช่เพลงเศร้าๆ ร้องเพลงออกมา ลอยหน้าลอยตา ยิ้ม ก็ไม่ถูกนะครับ
เพลงสากล ก็แปลเนื้อดูความหมายของเพลงเขาดูก่อน เราจะจับทางเพลง หรือหัวใจของเพลงได้ครับ
ตอนที่ 3 นี้ ก็ยาวเอาเรื่องอยู่เหมือนกันนะ
มาขยายความหมายของคำว่า บันได คอร์ด Diatonic Chord ต่อที่ผ่านมาตอนที่ 2 ผมพูดไว้
ค่อนข้างจะสั้นไป เพื่อนที่เล่น Piano เก่งแล้ว จะเข้าใจ แต่ที่เพิ่งจะเริ่มหัดยัง งงๆ อยู่ เป็นอย่างนี้นะครับ
หลายๆประเทศ เรีอก Chord ว่า C Minor D Minor E Minor แต่ประเทศ ฝรั่งเศส เรียกว่า
Do Minor Re Minor Mi Minor ( โด ไมเน่อร์ เร ไมเน่อร์ มี ไมเน่อร์ )
ไม่ว่าจะเป็น Key อะไรให้อ่านตัวที่ 1 เป็น โด หมดครับ
เช่น Key D เรียก D เป็น โด Key E เรียก E เป็น โด Key Bb เรียก Bb เป็น โด อย่างนี้เป็นต้น
เขาจึงได้เอาวิธีอ่านแบบของ ฝรั่งเศส มาให้ใช้เรียนในวิชาขับร้องครับ
ถ้าหากเราอ่านแบบ อังกฤษ เสียง ออกมาจะ เพี้ยนหมด เช่น F# Eb เราจะออกเสียงไม่ถูกครับ
ลอง ออกเสียงดูก็ได้ ( หมายความว่า ถ้า อ่านชื่อ Chord ให้อ่าน แบบของ อังกฤษ แต่ถ้าให้ อ่านออกเสียง
เป็นทำนอง ให้ใช้แบบ ฝรั่งเศส ครับ ) นี่เริ่ม จะงงๆ แล้วใช่ไหมครับ ไม่เป็นไรนะ อ่านมาถึงตอนนี้
หยุดก่อน ออกไปวิ่งรอบบ้าน สักหนึ่งรอบ แล้วกลับมาอ่านอีก10 รอบก็จะเข้าใจ ( ถ้าหากบ้านเป็นทาวเฮ้าท์
ก็ไปขอวิ่งบ้านคนอื่นก่อนนะ )
บันไดคอร์ด Diatonic Chord ที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ ให้เรียกตัวที่ 1 เป็นโด หมดนะครับ
( หรือ 1 คือ โด 2 คือ เร 3 คือ มี …………. )
Key C
C D E F G A B C โด เร มี ฟา ซอล ลา ทรี โด
1. C E G B โด มี ซอล ทรี เรียกว่า C Major7 ซี เมเจ่อร์ เซเว่น 1 3 5 7
2. D F A C เร ฟา ลา โด เรียกว่า Dm7 ดี ไมเน่อร์ เซเว่น 2 4 6 8 ( 8 = 1 )
3. E G B D มี ซอล ทรี เร เรียกว่า Em7 อี ไมเน่อร์ เซเว่น 3 5 7 9 ( 9 = 2 )
4. F A C E ฟา ลา โด มี เรียกว่า FMajor7 เอฟ เมเจ่อร์ เซเว่น 4 6 8 10 ( 8 = 1 , 10 = 3 )
5. G B D F ซอล ทรี เร ฟา เรียกว่า G7 จี เซเว่น (โดมิแน้นท์) 5 7 9 11 ( 9 = 2 , 11 = 4 )
6. A C E G ลา โด มี ซอล เรียกว่า Am7 เอ ไมเน่อร์ เซเว่น 6 8 10 12 ( 8 = 1 , 10 = 3 , 12 = 5 )
7. B D F A ทรี เร ฟา ลา เรียกว่า Bm7b5 บี ไมเน่อร์ เซเว่น แฟล๊ตไฟว์ 7 9 11 13 ( 9=2 ,11= 3,13=6)
รวมกันได้ 7 Chord คือ
1. CMajor7 2. Dm7 3. Em7 4. FMajor7 5. G7 6. Am7 7. Bm7b5
ทางเดิน ที่ 1 คือ CMajor7 Am7 Dm7 G7 CMajor7 1 6 2 5 1
ทางเดิน ที่ 2 คือ CMajor7 EbDim7 Dm7 G7 CMajor7 1 3bDim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 3 คือ CMajor7 C#Dim7 Dm7 G7 CMajor7 1 1#Dim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 4 คือ CMajor7 C7 FMajor7 Fm CMajor7 1 5/4 4Major7 4m 1
( C7 เป็น 5 ของ F ) F คือตัวที่ 4 ของ Key C ทางเดิน ที่ 4 ส่วนมากจะใช้ในท่อนสุดท้าย หรือตอนจบ
Chord แทน หรือ Sub Chord. Key C
1. CMajor7 2. Dm7 3. Em7 4. FMajor7 5. G7 6. Am7 7. Bm7b5
3 , 6 แทน 1, ( Em7, Am7 แทน CMajor7 )
6 , 2 แทน 4, ( Am7, Dm7 แทน FMajor7 )
2b7 แทน 5, ( Db7, แทน G7 )
7m7b5 แทน 5, ( Bm7b5, แทน G9 )
2m7b5 แทน 4m6, ( Dm7b5, แทน Fm6 )
Key G ( 1# )
G A B C D E F# G โด เร มี ฟา ซอล ลา ทรี โด 1 2 3 4 5 6 7 8
1. G B D F# โด มี ซอล ทรี ( อังกฤษ GMajor7 จี เมเจ่อร์ เซเว่น ) 1 3 5 7
2. A C E G เร ฟา ลา โด ( อังกฤษ Am7 เอ ไมเน่อร์ เซเว่น ) 2 4 6 8 ( 8 = 1 )
3. B D F# A มี ซอล ทรี เร ( อังกฤษ Bm7 บี ไมเน่อร์ เซเว่น ) 3 5 7 9 ( 9 = 2 )
4. C E G B ฟา ลา โด มี ( อังกฤษ C Major7 ซี เมเจ่อร์ เซเว่น ) 4 6 8 10 ( 8 = 1 , 10 = 3 )
5. D F# A C ซอล ทรี เร ฟา ( อังกฤษ D ดี เซเว่น โดมิแน้นท์ ) 5 7 9 11 ( 9 = 2 , 11 = 4 )
6. E G B D ลา โด มี ซอล ( อังกฤษ Em7 อี ไมเน่อร์ เซเว่น ) 6 8 10 12 ( 8 = 1 , 10 = 3 , 12 = 5 )
7. F# A C E ทรี เร ฟา ลา ( อังกฤษ F#m7b5 เอ๊ฟช๊าปไมเน่อร์เซเว่นแฟล๊ไฟว์ ) 7 9 11 13 ( 9 = 2 , 11 = 3 , 13 = 6 )
รวมกันได้ 7 Chord คือ
1. GMajor7 2. Am7 3. Bm7 4. CMajor7 5. D7 6. Em7 7. F#m7b5
ทางเดิน ที่ 1 คือ GMajor7 Em7 Am7 D7 GMajor7 1 6 2 5 1
ทางเดิน ที่ 2 คือ GMajor7 Bbdim7 Am7 D7 GMajor7 1 3bDim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 3 คือ GMajor7 G#dim7 Am7 D7 GMajor7 ( G#= Ab ) 1 1#Dim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 4 คือ GMajor7 G7 C Cm GMajor7 1 5/4 4 4 Minor 1
( G7 เป็น 5 ของ C ) C คือตัวที่ 4 ของ Key G งง ปะ
Chord แทน หรือ Sub Chord. Key G
1. GMajor7 2. Am7 3. Bm7 4. CMajor7 5. D7 6. Em7 7. F#m7b5
3 , 6 แทน 1, ( Bm7, Em7 แทน GMajor7 )
6 , 2 แทน 4, ( Em7, Am7 แทน CMajor7 )
2b7 แทน 5, ( Ab7, แทน D7 )
7m7b5 แทน 5, ( F#m7b5, แทน D9 )
2m7b5 แทน 4m6, ( Am7b5, แทน Cm6 )
Key D ( 2# )
D E F# G A B C# D โด เร มี ฟา ซอล ลา ทรี โด 1 2 3 4 5 6 7 8
1. D F# A C# โด มี ซอล ทรี ( อังกฤษ DMajor7 ดี เมเจ่อร์ เซเว่น ) 1 3 5 7
2. E G B D เร ฟา ลา โด ( อังกฤษ Em7 อี ไมเน่อร์ เซเว่น ) 2 4 6 8 ( 8 = 1 )
3. F# A C# E มี ซอล ทรี เร ( อังกฤษ F#m7 เอ๊ฟช้าป ไมเน่อร์ เซเว่น ) 3 5 7 9 ( 9 = 2 )
4. G B D F# ฟา ลา โด มี ( อังกฤษ G Major7 จีเมเจ่อร์ เซเว่น ) 4 6 8 10 ( 8 = 1 , 10 = 3 )
5. A C# E G ซอล ทรี เร ฟา ( อังกฤษ A7 เอ เซเว่น โดมิแน้นท์ ) 5 7 9 11 ( 9 = 2 , 11 = 4 )
6. B D F# A ลา โด มี ซอล ( อังกฤษ Bm7 บี ไมเน่อร์ เซเว่น ) 6 8 10 12 ( 8 = 1 , 10 = 3 , 12 = 5 )
7. C# E G B ทรี เร ฟา ลา ( อังกฤษ C#m7b5 ซีช๊าปไมเน่อร์เซเว่นแฟล๊ตไฟว์ ) 7 9 11 13 ( 9 = 2 , 11 = 3 , 13 = 6 )
รวมกันได้ 7 Chord คือ
1. DMajor7 2. Em7 3. F#m7 4. GMajor7 5. A7 6. Bm7 7. C#m7b5
ทางเดิน ที่ 1 คือ DMajor7 Bm7 Em7 A7 DMajor7 1 6 2 5 1
ทางเดิน ที่ 2 คือ DMajor7 Fdim7 Em7 A7 DMajor7 1 3bDim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 3 คือ DMajor7 D#dim7 Em7 A7 DMajor7 ( D#= Eb ) 1 1#Dim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 4 คือ DMajor7 D7 G Gm DMajor7 1 5/4 4 4Minor 1
( D7 เป็น 5 ของ G ) G คือตัวที่ 4 ของ Key D ไม่งง น่า…..
Chord แทน หรือ Sub Chord. Key D
1. DMajor7 2. Em7 3. F#m7 4. GMajor7 5. A7 6. Bm7 7. C#m7b5
3 , 6 แทน 1, ( F#m7, Bm7 แทน DMajor7 )
6 , 2 แทน 4, ( Bm7, Em7 แทน GMajor7 )
2b7 แทน 5, ( Eb7, แทน A7 )
7m7b5 แทน 5, ( C#m7b5, แทน A9 )
2m7b5 แทน 4m6, ( Em7b5, แทน Gm6 )
Key F ( 1 b )
F G A Bb C D E F โด เร มี ฟา ซอล ลา ทรี โด 1 2 3 4 5 6 7 8
1. F A C E โด มี ซอล ทรี ( อังกฤษ F Major7 เอ๊ฟเมเจ่อร์เซเว่น ) 1 3 5 7
2. G Bb D F เร ฟา ลา โด ( อังกฤษ Gm7 จี ไมเน่อร์ เซเว่น ) 2 4 6 8 ( 8 = 1 )
3. A C E G มี ซอล ทรี เร ( อังกฤษ Am7 เอ ไมเน่อร์ เซเว่น ) 3 5 7 9 ( 9 = 2 )
4. Bb D F A ฟา ลา โด มี ( อังกฤษ Bb Major7 บีแฟล๊ตเมเจ่อร์เซเว่น ) 4 6 8 10 ( 8 = 1 , 10 = 3 )
5. C E G Bb ซอล ทรี เร ฟา ( อังกฤษ C7 ซี เซเว่น โดมิแน้นท์ ) 5 7 9 11 ( 9 = 2 , 11 = 4 )
6. D F A C ลา โด มี ซอล ( อังกฤษ Dm7 ดี ไมเน่อร์ เซเว่น ) 6 8 10 12 ( 8 = 1 , 10 = 3 , 12 = 5 )
7. E G Bb D ทรี เร ฟา ลา ( อังกฤษ Em7b5 อีไมเน่อร์เซเว่นแฟล๊ตไฟว์ ) 7 9 11 13 ( 9 = 2 , 11 = 3 , 13 = 6 )
รวมกันได้ 7 Chord คือ
1. FMajor7 2. Gm7 3. Am7 4. BbMajor7 5. C7 6. Dm7 7. Em7b5
ทางเดิน ที่ 1 คือ FMajor7 Dm7 Gm7 C7 FMajor7 1 6 2 5 1
ทางเดิน ที่ 2 คือ FMajor7 Abdim7 Gm7 C7 FMajor7 1 3bDim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 3 คือ FMajor7 F#dim7 Gm7 C7 FMajor7 1 1#Dim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 4 คือ FMajor7 F7 Bb Bbm FMajor7 1 5/4 4 4 Minor 1
( F7 เป็น 5 ของ Bb ) Bb คือตัวที่ 4 ของ Key F
Chord แทน หรือ Sub Chord. Key F
1. FMajor7 2. Gm7 3. Am7 4. BbMajor7 5. C7 6. Dm7 7. Em7b5
3 , 6 แทน 1, ( Am7, Dm7 แทน FMajor7 )
6 , 2 แทน 4, ( Dm7, Gm7 แทน BbMajor7 )
2b7 แทน 5, ( Gb7, แทน C7 ) Gb = F#
7m7b5 แทน 5, ( Em7b5, แทน C9 )
2m7b5 แทน 4m6, ( Gm7b5, แทน Bbm6 )
Key Bb ( 2 b )
Bb C D Eb F G A Bb โด เร มี ฟา ซอล ลา ทรี โด 1 2 3 4 5 6 7 8
1. Bb D F A โด มี ซอล ทรี ( อังกฤษ BbMajor7 บีแฟล๊ตเมเจ่อร์เซเว่น ) 1 3 5 7
2. C Eb G Bb เร ฟา ลา โด ( อังกฤษ Cm7 ซี ไมเน่อร์ เซเว่น ) 2 4 6 8 ( 8 = 1 )
3. D F A C มี ซอล ทรี เร ( อังกฤษ Dm7 ดี ไมเน่อร์ เซเว่น ) 3 5 7 9 ( 9 = 2 )
4. Eb G Bb D ฟา ลา โด มี ( อังกฤษ EbMajor7 อีแฟล๊ตเมเจ่อร์เซเว่น ) 4 6 8 10 ( 8 = 1 , 10 = 3 )
5. F A C Eb ซอล ทรี เร ฟา ( อังกฤษ F7 เอฟ เซเว่น โดมิแน้นท์ ) 5 7 9 11 ( 9 = 2 , 11 = 4 )
6. G Bb D F ลา โด มี ซอล ( อังกฤษ Gm7 จี ไมเน่อร์ เซเว่น ) 6 8 10 12 ( 8 = 1 , 10 = 3 , 12 = 5 )
7. A C Eb G ทรี เร ฟา ลา ( อังกฤษ Am7b5 เอไมเน่อร์เซเว่นแฟล๊ตไฟว์ ) 7 9 11 13 ( 9 = 2 , 11 = 3 , 13 = 6 )
รวมกันได้ 7 Chord คือ
1. BbMajor7 2. Cm7 3. Dm7 4. EbMajor7 5. F7 6. Gm7 7. Am7b5
ทางเดิน ที่ 1 คือ BbMajor7 Gm7 Cm7 F7 BbMajor7 1 6 2 5 1
ทางเดิน ที่ 2 คือ BbMajor7 Dbdim7 Cm7 F7 BbMajor7 1 3bDim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 3 คือ BbMajor7 Bdim7 Cm7 F7 BbMajor7 1 1#Dim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 4 คือ BbMajor7 Bb7 Eb Ebm BbMajor7 1 5/4 4 4 Minor 1
( Bb7 เป็น 5 ของ Eb ) Eb คือตัวที่ 4 ของ Key Bb
Chord แทน หรือ Sub Chord. Key Bb ( 2 b )
1. BbMajor7 2. Cm7 3. Dm7 4. EbMajor7 5. F7 6. Gm7 7. Am7b5
3 , 6 แทน 1, ( Dm7, Gm7 แทน BbMajor7 )
6 , 2 แทน 4, ( Gm7, Cm7 แทน EbMajor7 )
2b7 แทน 5, ( Cb7, แทน F7 ) Cb = B
7m7b5 แทน 5, ( Am7b5, แทน F9 )
2m7b5 แทน 4m6, ( Cm7b5, แทน Ebm6 )
Chord แทน หรือ Sub Chord. จะมีเหมือนกันตรงที่ ตัวที่ 5 กับ 7 ครับ
เช่น Chord Db7 แทน G7 จะเห็นว่า Chord Db7 มี ตัว F (3) B (7) เหมือนกันกับ
Chord G7 B (3) F (7)
ลองเอา Chord ตัว อื่นๆ มาคิดดูเล่นๆก็ได้นะครับ จะเห็นได้ว่า เวลาเราจับ Chord พวกนี้
มือซ้าย เป็น Root หรือ Chord Tone อยู่แล้ว มือขวาอย่าให้หลุด สองตัวนี้ ( 3 กับ 7 ) เป็นอันว่า ใช่ได้
รวมทั้งหมดเป็น 5 Key แล้วนะครับ เหลืออีก 7 ทุกๆ Chord ใช้ Chord แทนได้ ยก เว้น Chord 1
หรือ Tonic เขาไม่นิยมใช้กันนะครับ ( เพิ่น เว้า จังซั่น เด๋อคับ )
Key Eb ( 3b )
Eb F G Ab Bb C D Eb โด เร มี ฟา ซอล ลา ทรี โด 1 2 3 4 5 6 7 8
1. Eb G Bb D โด มี ซอล ทรี ( อังกฤษ EbMajor7 อีแฟล๊ตเมเจ่อร์เซเว่น ) 1 3 5 7
2. F Ab C Eb เร ฟา ลา โด ( อังกฤษ Fm7 เอ๊ฟไมเน่อร์เซเว่น ) 2 4 6 8 ( 8 = 1 )
3. G Bb D F มี ซอล ทรี เร ( อังกฤษ Gm7 จีไมเน่อร์เซเว่น ) 3 5 7 9 ( 9 = 2 )
4. Ab C Eb Gฟา ลา โด มี ( อังกฤษ AbMajor7 เอแฟล๊ตเมเจ่อร์เซเว่น ) 4 6 8 10 ( 8 = 1 , 10 = 3 )
5. Bb D F Ab ซอล ทรี เร ฟา ( อังกฤษ Bb7 บีแฟล๊ตเซเว่น โดมิแน้นท์ ) 5 7 9 11 ( 9 = 2 , 11 = 4 )
6. C Eb G Bb ลา โด มี ซอล ( อังกฤษ Cm7 ซีไมเน่อร์ เซเว่น ) 6 8 10 12 ( 8 = 1 , 10 = 3 , 12 = 5 )
7. D F Ab C ทรี เร ฟา ลา ( อังกฤษ Dm7b5 ดีไมเน่อร์เซเว่นแฟล๊ตไฟว์ ) 7 9 11 13 ( 9 = 2 , 11 = 3 , 13 = 6 )
รวมกันได้ 7 Chord คือ
1. EbMajor7 2. Fm7 3. Gm7 4. AbMajor7 5. Bb7 6. Cm7 7. Dm7b5
ทางเดิน ที่ 1 คือ EbMajor7 Cm7 Fm7 Bb7 EbMajor7 1 6 2 5 1
ทางเดิน ที่ 2 คือ EbMajor7 Gbdim7 Fm7 Bb7 EbMajor7 ( Gb = F# ) 1 3bDim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 3 คือ EbMajor7 Edim7 Fm7 Bb7 EbMajor7 1 1#Dim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 4 คือ EbMajor7 Eb7 Ab Abm EbMajor7 1 5/4 4 4 Minor 1
( Eb7 เป็น 5 ของ Ab ) Ab คือตัวที่ 4 ของ Key Eb
Chord แทน หรือ Sub Chord. Key Eb
1. EbMajor7 2. Fm7 3. Gm7 4. AbMajor7 5. Bb7 6. Cm7 7. Dm7b5
3 , 6 แทน 1, ( Gm7, Cm7 แทน EbMajor7 )
6 , 2 แทน 4, ( Cm7, Fm7 แทน AbMajor7 )
2b7 แทน 5, ( Fb7, แทน Bb7 ) Fb7 = E7
7m7b5 แทน 5, ( Dm7b5, แทน Bb9 )
2m7b5 แทน 4m6, ( Fm7b5, แทน Abm6 )
Key Ab ( 4 b )
Ab Bb C Db Eb F G Ab โด เร มี ฟา ซอล ลา ทรี โด 1 2 3 4 5 6 7 8
1. Ab C Eb G โด มี ซอล ทรี ( อังกฤษ AbMajor7 เอแฟล๊ตเมเจ่อร์เซเว่น ) 1 3 5 7
2. Bb Db F Ab เร ฟา ลา โด ( อังกฤษ Bbm7 บีแฟล๊ต ไมเน่อร์ เซเว่น ) 2 4 6 8 ( 8 = 1 )
3. C Eb G Bb มี ซอล ทรี เร ( อังกฤษ Cm7 ซี ไมเน่อร์ เซเว่น ) 3 5 7 9 ( 9 = 2 )
4. Db F Ab C ฟา ลา โด มี ( อังกฤษ DbMajor7 ดีแฟล๊ต เมเจ่อร์ เซเว่น ) 4 6 8 10 ( 8 = 1 , 10 = 3 )
5. Eb G Bb Db ซอล ทรี เร ฟา ( อังกฤษ Eb7 อีแฟล๊ตเซเว่น โดมิแน้นท์ ) 5 7 9 11 ( 9 = 2 , 11 = 4 )
6. F Ab C Eb ลา โด มี ซอล ( อังกฤษ Fm7 เอ๊ฟ ไมเน่อร์ เซเว่น ) 6 8 10 12 ( 8 = 1 ,10 = 3 , 12 = 5 )
7. G Bb Db F ทรี เร ฟา ลา ( อังกฤษ Gm7b5 จีไมเน่อร์ เซเว่น แฟล๊ตไฟว์ ) 7 9 11 13 ( 9 = 2 ,11 = 3 , 13 = 6 )
รวมกันได้ 7 Chord คือ
1. AbMajor7 2. Bbm7 3. Cm7 4. DbMajor7 5. Eb7 6. Fm7 7. Gm7b5
ทางเดิน ที่ 1 คือ AbMajor7 Fm7 Bbm7 Eb7 AbMajor7 1 6 2 5 1
ทางเดิน ที่ 2 คือ AbMajor7 Cbdim7 Bbm7 Eb7 AbMajor7 ( Cb = B) 1 3bDim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 3 คือ AbMajor7 Adim7 Bbm7 Eb7 AbMajor7 1 1#Dim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 4 คือ AbMajor7 Ab7 Db Dbm AbMajor7 1 5/4 4 4 Minor 1
( Ab7 เป็น 5 ของ Db ) Db คือตัวที่ 4 ของ Key Ab
Chord แทน หรือ Sub Chord. Key Ab
1. AbMajor7 2. Bbm7 3. Cm7 4. DbMajor7 5. Eb7 6. Fm7 7. Gm7b5
3 , 6 แทน 1, ( Cm7, Fm7 แทน AbMajor7 )
6 , 2 แทน 4, ( Fm7, Bbm7 แทน DbMajor7 )
2b7 แทน 5, ( Bbb7, แทน Eb7 ) Bbb7 = A7
7m7b5 แทน 5, ( Gm7b5, แทน Eb9 )
2m7b5 แทน 4m6, ( Bbm7b5, แทน Dbm6 )
Key Db ( 5 b )
Db Eb F Gb Ab Bb C Db โด เร มี ฟา ซอล ลา ทรี โด 1 2 3 4 5 6 7 8
1. Db F Ab C โด มี ซอล ทรี ( อังกฤษ DbMajor7 ดีแฟล๊ต เมเจ่อร์ เซเว่น ) 1 3 5 7
2. Eb Gb Bb Db เร ฟา ลา โด ( อังกฤษ Ebm7 อีแฟล๊ต ไมเน่อร์ เซเว่น ) 2 4 6 8 ( 8 = 1 )
3. F Ab C Eb มี ซอล ทรี เร ( อังกฤษ Fm7 เอ๊ฟ ไมเน่อร์ เซเว่น ) 3 5 7 9 ( 9 = 2 )
4. Gb Bb Db F ฟา ลา โด มี ( อังกฤษ GbMajor7 จีแฟล๊ต เมเจ่อร์ เซเว่น ) 4 6 8 10 ( 8 = 1 , 10 = 3 )
5. Ab C Eb Gb ซอล ทรี เร ฟา ( อังกฤษ Ab7 เอแฟล๊ตเซเว่น โดมิแน้นท์ ) 5 7 9 11 ( 9 = 2 , 11 = 4 )
6. Bb Db F Ab ลา โด มี ซอล ( อังกฤษ Bbm7 บีแฟล๊ตไมเน่อร์เซเว่น ) 6 8 10 12 ( 8 = 1 , 10 = 3 , 12 = 5 )
7. C Eb Gb Bb ทรี เร ฟา ลา ( อังกฤษ Cm7b5 ซีไมเน่อร์เซเว่นแฟล๊ตไฟว์ ) 7 9 11 13 ( 9 = 2 , 11 = 3 , 13 = 6 )
รวมกันได้ 7 Chord คือ
1. DbMajor7 2. Ebm7 3. Fm7 4. GbMajor7 5. Ab7 6. Bbm7 7. Cm7b5
ทางเดิน ที่ 1 คือ DbMajor7 Bbm7 Ebm7 Ab7 DbMajor7 1 6 2 5 1
ทางเดิน ที่ 2 คือ DbMajor7 Fbdim7 Ebm7 Ab7 DbMajor7 ( Fb = E) 1 3bDim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 3 คือ DbMajor7 Ddim7 Ebm7 Ab7 DbMajor7 1 1#Dim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 4 คือ DbMajor7 Db7 Gb Gbm DbMajor7 1 5/4 4 4 Minor 1
( Db7 เป็น 5 ของ Gb ) Gb คือตัวที่ 4 ของ Key Db
Chord แทน หรือ Sub Chord. Key Db
1.DbMajor7 2. Ebm7 3. Fm7 4. GbMajor7 5. Ab7 6. Bbm7 7. Cm7b5
3 , 6 แทน 1, ( Fm7, Bbm7 แทน DbMajor7 )
6 , 2 แทน 4, ( Bbm7, Ebm7 แทน GbMajor7 )
2b7 แทน 5, ( Ebb7, แทน Ab7 ) Ebb7 = D7
7m7b5 แทน 5, ( Cm7b5, แทน Ab9 )
2m7b5 แทน 4m6, ( Ebm7b5, แทน Gbm6 )
( สำหรับทางเดินที่ 4 ของทุกๆ Key นั้น 1 5/4 4 4 Minor 1 ตรง ที่ Chord 4 Minor นั้น จะมี 7
หรือไม่ ก็ได้ เช่น สมมุติ Key C ตัว F คือ 4 จะเป็น Fm หรือ Fm7 ก็ได้ ครับ แล้วแต่ Melody จะพาไป )
ทุกๆคำพูดในขอเขียนของผมที่ผ่านมา ผมอยากให้เอาไปฝึกเล่น Piano นะครับ อ่านให้เขาใจเฉยๆ
และไม่ฝึก จะไม่ได้อะไรเลยนะครับ ฝึกไล่ Scale ทุกๆ Key และ หัดจับ Chord ทุกๆ Chord ให้ได้จนชำนาญ
และจำให้ได้ ว่านี่ Chord 1 นี่ Chord 2 นี่ Chord 3 นี่ Chord 4 ไปเรื่อยๆ นะ เวลา ไล่ Scale ให้ท่อง
โด เร มี ฟา ซอล ลา ทรี โด ในใจของเรา ตามไปด้วยเสมอนะครับ พอหูของเรา จำเสียง โด เร มี ได้
ก็ไม่ต้องมองตาม นิ้วมือของเราอีกหลับตาเล่นยิ่งดี เพราะถ้านิ้วเราเล่นผิดตัว ผิดเสียง เราจะฟังออกทันทีเลย
ว่านิ้วผิดครับ มาต่อกันให้ครบ 12 Key นะครับ
Key A ( 3 # )
A B C#D E F# G#A โด เร มี ฟา ซอล ลา ทรี โด 1 2 3 4 5 6 7 8
1. A C# E G# โด มี ซอล ทรี ( อังกฤษ AMajor7 เอ เมเจ่อร์ เซเว่น ) 1 3 5 7
2. B D F# A เร ฟา ลา โด ( อังกฤษ Bm7 บีไมเน่อร์ เซเว่น ) 2 4 6 8 ( 8 = 1 )
3. C# E G# B มี ซอล ทรี เร ( อังกฤษ C#m7 ซีช๊าฟ ไมเน่อร์ เซเว่น ) 3 5 7 9 ( 9 = 2 )
4. D F# A C# ฟา ลา โด มี ( อังกฤษ DMajor7 ดี เมเจ่อร์ เซเว่น ) 4 6 8 10 ( 8 = 1 , 10 = 3 )
5. E G# B D ซอล ทรี เร ฟา ( อังกฤษ E7 อี เซเว่น โดมิแน้นท์ ) 5 7 9 11 ( 9 = 2 , 11 = 4 )
6. F# A C# E ลา โด มี ซอล ( อังกฤษ F#m7 เอ๊ฟช๊าฟ ไมเน่อร์ เซเว่น ) 6 8 10 12 ( 8 = 1 , 10 = 3 , 12 = 5 )
7. G# B D F# ทรี เร ฟา ลา ( อังกฤษ G#m7b5 จีช๊าฟไมเน่อร์เซเว่นแฟล๊ตไฟว์ ) 7 9 11 13 ( 9 = 2 , 11 = 3 , 13 = 6 )
รวมกันได้ 7 Chord คือ
1. AMajor7 2. Bm7 3. C#m7 4. DMajor7 5. E7 6. F#m7 7. G#m7b5
ทางเดิน ที่ 1 คือ AMajor7 F#m7 Bm7 E7 AMajor7 1 6 2 5 1
ทางเดิน ที่ 2 คือ AMajor7 Cdim7 Bm7 E7 AMajor7 1 3bDim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 3 คือ AMajor7 A#dim7 Bm7 E7 AMajor7 ( A# = Bb ) 1 1#Dim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 4 คือ AMajor7 A7 D Dm AMajor7 1 5/4 4 4 Minor 1
( A7 เป็น 5 ของ D ) D คือตัวที่ 4 ของ Key A
Chord แทน หรือ Sub Chord. Key A
1. AMajor7 2. Bm7 3. C#m7 4. DMajor7 5. E7 6. F#m7 7. G#m7b5
3 , 6 แทน 1, ( C#m7, F#m7 แทน AMajor7 )
6 , 2 แทน 4, ( F#m7, Bm7 แทน DMajor7 )
2b7 แทน 5, ( Bb7, แทน E7 )
7m7b5 แทน 5, ( G#m7b5, แทน E9 )
2m7b5 แทน 4m6, ( Bm7b5, แทน Dm6 )
Key E ( 4 # )
E F# G#A B C# D#E โด เร มี ฟา ซอล ลา ทรี โด 1 2 3 4 5 6 7 8
1. E G# B D# โด มี ซอล ทรี ( อังกฤษ EMajor7 อี เมเจ่อร์ เซเว่น ) 1 3 5 7
2. F# A C# E เร ฟา ลา โด ( อังกฤษ F#m7 เอ๊ฟช๊าฟ ไมเน่อร์ เซเว่น ) 2 4 6 8 ( 8 = 1 )
3. G# B D# F# มี ซอล ทรี เร ( อังกฤษ G#m7 จีช๊าฟ ไมเน่อร์ เซเว่น ) 3 5 7 9 ( 9 = 2 )
4. A C# E G# ฟา ลา โด มี ( อังกฤษ AMajor7 เอ เมเจ่อร์ เซเว่น ) 4 6 8 10 ( 8 = 1 , 10 = 3 )
5. B D# F# A ซอล ทรี เร ฟา ( อังกฤษ B7 บี เซเว่น โดมิแน้นท์ ) 5 7 9 11 ( 9 = 2 , 11 = 4 )
6. C# E G# B ลา โด มี ซอล ( อังกฤษ C#m7 ซีช๊าฟ ไมเน่อร์ เซเว่น ) 6 8 10 12 ( 8 = 1 , 10 = 3 , 12 = 5 )
7. D# F# A C# ทรี เร ฟา ลา ( อังกฤษ D#m7b5 ดีช๊าฟไมเน่อร์เซเว่นแฟล๊ตไฟว์) 7 9 11 13 ( 9 = 2 , 11 = 3 , 13 = 6 )
รวมกันได้ 7 Chord คือ
1. EMajor7 2. F#m7 3. G#m7 4. AMajor7 5. B7 6. C#m7 7. D#m7b5
ทางเดิน ที่ 1 คือ EMajor7 C#m7 F#m7 B7 EMajor7 1 6 2 5 1
ทางเดิน ที่ 2 คือ EMajor7 Gdim7 F#m7 B7 EMajor7 1 3bDim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 3 คือ EMajor7 Fdim7 F#m7 B7 EMajor7 1 1#Dim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 4 คือ EMajor7 E7 A Am EMajor7 1 5/4 4 4 Minor 1
( E7 เป็น 5 ของ A ) A คือตัวที่ 4 ของ Key E
Chord แทน หรือ Sub Chord. Key E
1. EMajor7 2. F#m7 3. G#m7 4. AMajor7 5. B7 6. C#m7 7. D#m7b5
3 , 6 แทน 1, ( G#m7, C#m7 แทน EMajor7 )
6 , 2 แทน 4, ( C#m7, F#m7 แทน AMajor7 )
2b7 แทน 5, ( F7, แทน B7 )
7m7b5 แทน 5, ( D#m7b5, แทน B9 )
2m7b5 แทน 4m6, ( F#m7b5, แทน Am6 )
Key B ( 5 # )
B C# D#E F# G# A#B โด เร มี ฟา ซอล ลา ทรี โด 1 2 3 4 5 6 7 8
1. B D# F# A# โด มี ซอล ทรี ( อังกฤษ BMajor7 บี เมเจ่อร์ เซเว่น ) 1 3 5 7
2. C# E G# B เร ฟา ลา โด ( อังกฤษ C#m7 ซีช๊าฟ ไมเน่อร์ เซเว่น ) 2 4 6 8 ( 8 = 1 )
3. D# F# A# C# มี ซอล ทรี เร ( อังกฤษ D#m7 ดีช๊าฟ ไมเน่อร์ เซเว่น ) 3 5 7 9 ( 9 = 2 )
4. E G# B D# ฟา ลา โด มี ( อังกฤษ EMajor7 อี เมเจ่อร์ เซเว่น ) 4 6 8 10 ( 8 = 1 , 10 = 3 )
5. F# A# C# E ซอล ทรี เร ฟา ( อังกฤษ F#7 เอ๊ฟช๊าฟ เซเว่น โดมิแน้นท์ ) 5 7 9 11 ( 9 = 2 , 11 = 4 )
6. G# B D# F# ลา โด มี ซอล ( อังกฤษ G#m7 จีช๊าฟ ไมเน่อร์ เซเว่น ) 6 8 10 12 ( 8 = 1 , 10 = 3 , 12 = 5 )
7. A# C# E G# ทรี เร ฟา ลา ( อังกฤษ A#m7b5 เอช๊าฟไมเน่อร์เซเว่นแฟล๊ตไฟว์) 7 9 11 13 ( 9 = 2 , 11 = 3 , 13 = 6 )
รวมกันได้ 7 Chord คือ
1. BMajor7 2. C#m7 3. D#m7 4. EMajor7 5. F#7 6. G#m7 7. A#m7b5
ทางเดิน ที่ 1 คือ BMajor7 G#m7 C#m7 F#7 BMajor7 1 6 2 5 1
ทางเดิน ที่ 2 คือ BMajor7 Ddim7 C#m7 F#7 BMajor7 1 3bDim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 3 คือ BMajor7 Cdim7 C#m7 F#7 BMajor7 1 1#Dim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 4 คือ BMajor7 B7 E Em BMajor7 1 5/4 4 4 Minor 1
( B7 เป็น 5 ของ E ) E คือตัวที่ 4 ของ Key B
Chord แทน หรือ Sub Chord. Key B
1. BMajor7 2. C#m7 3. D#m7 4. EMajor7 5. F#7 6. G#m7 7. A#m7b5
3 , 6 แทน 1, ( D#m7, G#m7 แทน BMajor7 )
6 , 2 แทน 4, ( G#m7, C#m7 แทน EMajor7 )
2b7 แทน 5, ( C7, แทน F#7 )
7m7b5 แทน 5, ( A#m7b5, แทน F#9 )
2m7b5 แทน 4m6, ( C#m7b5, แทน Em6 )
Key เดียวกัน เขียนได้ สองแบบแถมให้ก็แล้วกัน ( เด๋อคับ ) สอง Key นี้เป็น Key เดียวกันนะ
แล้วแต่ว่าใครจะชอบเขียนแบบไหน ( F# กับ Gb เป็น Key เดียวกัน )
Key F# ( 6 # )
F# G# A#B C# D# E#F# โด เร มี ฟา ซอล ลา ทรี โด ( E# = F ) 1 2 3 4 5 6 7 8
1. F# A# C# E# โด มี ซอล ทรี ( อังกฤษ F#Major7 เอ๊ฟช๊าฟเมเจ่อร์เซเว่น ) 1 3 5 7
2. G# B D# F# เร ฟา ลา โด ( อังกฤษ G#m7 จีช๊าฟไมเน่อร์เซเว่น ) 2 4 6 8 ( 8 = 1 )
3. A# C# E# G# มี ซอล ทรี เร ( อังกฤษ A#m7 เอช๊าฟ ไมเน่อร์ เซเว่น ) 3 5 7 9 ( 9 = 2 )
4. B D# F# A# ฟา ลา โด มี ( อังกฤษ BMajor7 บี เมเจ่อร์ เซเว่น ) 4 6 8 10 ( 8 = 1 , 10 = 3 )
5. C# E# G# B ซอล ทรี เร ฟา ( อังกฤษ C#7 ซีช๊าฟเซเว่นโดมิแน้นท์ ) 5 7 9 11 ( 9 = 2 , 11 = 4 )
6. D# F# A# C# ลา โด มี ซอล ( อังกฤษ D#m7 ดีช๊าฟไมเน่อร์เซเว่น ) 6 8 10 12 ( 8 = 1 , 10 = 3 , 12 = 5 )
7. E# G# B D# ทรี เร ฟา ลา ( อังกฤษ E#m7b5 อีช๊าฟไมเน่อร์เซเว่นแฟล๊ตไฟว์) 7 9 11 13 ( 9 = 2 , 11 = 3 , 13 = 6 )
รวมกันได้ 7 Chord คือ
1. F#Major7 2. G#m7 3. A#m7 4. BMajor7 5. C#7 6. D#m7 7. E#m7b5
ทางเดิน ที่ 1 คือ F#Major7 D#m7 G#m7 C#7 F#Major7 1 6 2 5 1
ทางเดิน ที่ 2 คือ F#Major7 Adim7 G#m7 C#7 F#Major7 1 3bDim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 3 คือ F#Major7 Gdim7 G#m7 C#7 F#Major7 1 1#Dim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 4 คือ F#Major7 F#7 B Bm F#Major7 1 5/4 4 4 Minor 1
( F#7 เป็น 5 ของ B ) B คือตัวที่ 4 ของ Key F#
Chord แทน หรือ Sub Chord. Key F#
1. F#Major7 2. G#m7 3. A#m7 4. BMajor7 5. C#7 6. D#m7 7. E#m7b5
3 , 6 แทน 1, ( A#m7, D#m7 แทน F#Major7 )
6 , 2 แทน 4, ( D#m7, G#m7 แทน BMajor7 )
2b7 แทน 5, ( G7, แทน C#7 )
7m7b5 แทน 5, ( E#m7b5, แทน C#9 )
2m7b5 แทน 4m6, ( G#m7b5, แทน Bm6 )
Key Gb ( 6 b )
Gb Ab BbCb Db Eb F Gb โด เร มี ฟา ซอล ลา ทรี โด ( Cb= B ) 1 2 3 4 5 6 7 8
1. Gb Bb Db F โด มี ซอล ทรี ( อังกฤษ GbMajor7 จีแฟล๊ตเมเจ่อร์เซเว่น ) 1 3 5 7
2. Ab Cb Eb Gb เร ฟา ลา โด ( อังกฤษ Abm7 เอแฟล๊ตไมเน่อร์เซเว่น ) 2 4 6 8 ( 8 = 1 )
3. Bb Db F Ab มี ซอล ทรี เร ( อังกฤษ Bbm7 บีแฟล๊ตไมเน่อร์เซเว่น ) 3 5 7 9 ( 9 = 2 )
4. Cb Eb Gb Bb ฟา ลา โด มี ( อังกฤษ CbMajor7 ซีแฟล๊ตเมเจ่อร์เซเว่น ) 4 6 8 10 ( 8 = 1 , 10 = 3 )
5. Db F Ab Cb ซอล ทรี เร ฟา ( อังกฤษ Db7 ดีแฟล๊ตเซเว่น โดมิแน้นท์ ) 5 7 9 11 ( 9 = 2 , 11 = 4 )
6. Eb Gb Bb Db ลา โด มี ซอล ( อังกฤษ Ebm7 อีแฟล๊ตไมเน่อร์เซเว่น ) 6 8 10 12 ( 8 = 1 , 10 = 3 , 12 = 5 )
7. F Ab Cb Eb ทรี เร ฟา ลา ( อังกฤษ Fm7b5 เอ๊ฟ ไมเน่อร์เซเว่นแฟล๊ตไฟว์) 7 9 11 13 ( 9 = 2 , 11 = 3 , 13 = 6 )
รวมกันได้ 7 Chord คือ
1. GbMajor7 2. Abm7 3. Bbm7 4. CbMajor7 5. Db7 6. Ebm7 7. Fm7b5
ทางเดิน ที่ 1 คือ GbMajor7 Ebm7 Abm7 Db7 GbMajor7 1 6 2 5 1
ทางเดิน ที่ 2 คือ GbMajor7 Adim7 Abm7 Db7 GbMajor7 1 3bDim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 3 คือ GbMajor7 Gdim7 Abm7 Db7 GbMajor7 1 1#Dim7 2 5 1
ทางเดิน ที่ 4 คือ GbMajor7 Gb7 Cb Cbm GbMajor7 1 5/4 4 4 Minor 1
( Gb7 เป็น 5 ของ Cb ) Cb คือตัวที่ 4 ของ Key Gb
Chord แทน หรือ Sub Chord. Key Gb
1. GbMajor7 2. Abm7 3. Bbm7 4. CbMajor7 5. Db7 6. Ebm7 7. Fm7b5
3 , 6 แทน 1, ( Bbm7, Ebm7 แทน GbMajor7 )
6 , 2 แทน 4, ( Ebm7, Abm7 แทน CbMajor7 )
2b7 แทน 5, ( Abb7, แทน Db7 ) Abb7 = G7
7m7b5 แทน 5, ( Fm7b5, แทน Db9 )
2m7b5 แทน 4m6, ( Abm7b5, แทน Cbm6 ) Cbm6 = Bm6
ครบหมด 12 Key แล้วนะ ทีนี้ ก็ตัวใคร ก็ตัวมันนะครับบังคับกันเอาเองนะพ่อทูลหัว ทั้งหลาย
ใคร อยากจะขึ้นถึงชั้นไหน ก็เลือกเอาเลย ยังมีที่ว่าง อยู่อีกมากมาย ครับผม Scales Major ทุกๆ Scales
สามารถเป็นได้ 2 Key ทั้ง Major และ Minor ให้จำไว้ง่ายๆ ก็คือ ตัวที่ 6 ของ Scales Major คือ Key Minor
ชอง Scales นั้นๆ เพราะเป็นตัวที่เกี่ยวข้องกัน ( Relative ) ถ้าเป็น Scales C Major ก็ได้
คือ C D E F G A B C A คือตัวที่ 6 Scales C Major 1 2 3 4 5 6 7 8
Tonic เป็น C ก็คือ Key C Major, Tonic เป็น A ก็คือ Key A Minor ( ดูที่ Bass ) เพราะว่า A เป็นตัว
ที่ 6 ของ Scales C Major
ถ้าหากเราอยากรู้ว่าโน๊ตเพลงที่มีอยู่เป็น Key อะไรให้ดูตอนจบของเพลงว่าจบดัวย Chord อะไร
ถ้าจบด้วย Major และลงท้ายด้วย Chord C6 CMajor7 C9 และใน Melody ของเพลงจะมี
Chord 1 6 2 5 1 C Am7 Dm7 G7 C คือเพลงทาง Scales Major
ถ้าเป็นทาง Scales Minor จะจบด้วย Chord Am6 AmMajor7 Am9 และใน Melody ของเพลงจะมี
Chord E7 มาก เพราะเป็น Chord ที่ 5 ของ Am ถ้าเอา คอร์ด Am เป็น 1 หรือทาง Scales Minor
( E7 เป็นไฟว์เซเว่นซิกของ Am )
ใน Scales C Major, Am คือตัวที่ 6 ใน Scales C Major ซื่งมี Chord E7 บ้าง แต่ก็ใช้ใน Scales Major
น้อยมากแต่บางทีคนแต่งเขาจะจบด้วย Chord A ธรรมดา ก็เรียกเป็น เพลงทาง Minor ครับ
( ถ้าหากเป็นทาง Major ต้องจบด้วย Chord C เพราะ Scales เป็น C )
ถ้าหากอยากทราบว่าเพลงที่เล่นอยู่ Key อะไรให้ดู Chord ตอนจบเพลง ตก Chord อะไร ก็คือ Key นั้น
นอกจากว่าเพลงนั้นมีการเปลี่ยน Key ก็บอก ได้ว่า เพลงนี้มีสอง Key ครับ หรือให้หลับตาฟัง Melody แล้ว
ให้นึกเป็น โด เร มี ตามที่ ผมบอกไว้ใน ตอนที่ 3 พอได้ โด เร มี ชัดๆ
ถ้าเป็นทาง Major ไปกดที่ Pianoถ้าตัวโด ตกที่ C คือ Key C , ตกที่ G คือ Key G = 1#,
ตกที่ D คือ Key D = 2#, ตกที่ A คือ Key A = 3#, ตกที่ F คือ Key F = 1b, ตกที่ Bb คือ Key Bb = 2b,
ตกที่ Eb คือ Key Eb = 3b
ถ้า เป็นทาง Minor ไปกดที่ Piano ตัวโด ตกที่ C คือ Key Am, ตกที่ G คือ Key Em = 1#,
ตกที่ D คือ Key Bm = 2#, ตกที่ A คือ Key F#m = 3#, ตกที่ F คือ Key Dm = 1b, ตกที่ Bb คือ Key Gm = 2b,
ตกที่ Eb คือ Key Cm = 3b เป็นต้น
ใช้มือซ้ายเล่น Bass แล้วมือ ขวา Solo นิ้วมือจะได้ หลุดออกจากกัน เป็น สองคน ครับ สำคัญมาก
กับคนที่อยากเล่น เพลง Jazz ครับ หรือ อยากจะร้องเพลงไปด้วย ใช้ ฮาน้อน ก็ได้ครับ เล่น สองมือ ให้ขัดกันเข้าไว้
จะดีมาก ถ้าเล่นได้แล้ว ให้ไล่ Scale ทุกๆ Keyให้ ได้
ที่ผมยอกว่าให้ไล่นิ้วทั้งสองมือ ผมจะอธิบายให้ ละเอียด อ่านช้าๆ นะครับ การไล่ โน๊ต จากมือ ซ้าย
ไปมือ ขวา 1 3 5 1 3 5 1 3 5 ( โด มี ซอล ) ไปจนสุด Piano ทั้ง 12 Key เลย
หมายความว่า ในหนึ่ง Key เล่นแค่ 1 3 5 1 3 5 1 3 5 1 3 5 ไปจนสุด Piano ( โด มี ซอล )
มือขวา
Key C เล่น C E G C E G C E G C E G C E G C E G C
1 3 5 1 3 5 1 3 5 1 3 5 1 3 5 1 3 5 1
1 คือนิ้วหัวแม่มือ 3 นิ้วชี้ 5 นิ้วนางไปเรื่อยๆ ตัวสุดท้ายถึงจะลงนิ้วก้อยที่ 1
มือซ้าย
Key C เล่น C E G C E G C E G C E G C E G C E G C
1 3 5 1 3 5 1 3 5 1 3 5 1 3 5 1 3 5 1
1 คือนิ้วก้อย 3 นิ้วชี้ 5 นิ้วหัวแม่มือ ตัวสุดท้ายถึงจะลงนิ้วหัวแม่มือที่ 1
มือขวา
Key D เล่น D F# A D F# A D F# A D F# A D F# A D F# A D
1 3 5 1 3 5 1 3 5 1 3 5 1 3 5 1 3 5 1
1 คือนิ้วหัวแม่มือ 3 นิ้วชี้ 5 นิ้วนางไปเรื่อยๆตัวสุดท้ายถึงจะลงนิ้วก้อยที่ 1
มือซ้าย
Key D เล่น D F# A D F# A D F# A D F# A D F# A D F# A D
1 3 5 1 3 5 1 3 5 1 3 5 1 3 5 1 3 5 1
1 คือนิ้วก้อย 3 นิ้วชี้ 5 นิ้วหัวแม่มือ ตัวสุดท้ายถึงจะลงนิ้วหัวแม่มือที่ 1 เล่นให้ได้ทั้ง 12 Key เลย
พอเล่นได้ทั้งสองมือ ให้เล่นไล่กันไปจากมือ ซ้ายไปมือ ขวา แต่ต้องให้ จังหวะความเร็วเท่ากัน
หมายถึง เล่นตัวดำ ก็ ดำหมด เขบ๊ต ก็ เขบ๊ตหมด เล่นให้เสียงเสมอกัน เหมือนสายน้ำไหล ครับ
( เหยียบ แพ็ดเดิ้นด้วย )ไล่นิ้วมือทั้งสองมือไปจนสุด นิ้ว Piano เลย ไล่นิ้วมือซ้าย ซ้ำมือขวาไปเลย
หมายความว่า มือซ้ายเล่น 1 3 5 โด มี ซอล ก่อน แล้วมือขวา ก็เล่น 1 3 5 Octave ถัดไป มือซ้าย
ก็เล่นซ้ำ มือขวา โดยให้มือขวา เล่นนำหน้าไปตลอด มือซ้าย ก็ซ้ำมือขวาไปตลอด จังหวะ มือ ซ้าย ขวา
ต้อง ต่อเนื่องกัน อย่าให้เสียจังหวะ ไปจนสุด Piano เลย ตัวสุดท้าย ของมือขวา ลงนิ้วก้อย
ที่ 1 ( C ) ต้องให้ จังหวะความเร็วเท่ากันไปจนจบ นะครับ เล่นได้แล้ว ค่อยใส่ Feeling นะครับ
ถ้าหากเราทำได้แล้ว จะมีผลดีตามมา ดือ มือ ซ้าย ขวา ของเราจะลงไปตรงที่เรานึกและต้องการ
ทุกๆ ครั้งโดยที่เราไม่ต้องใช้ สายตา มองเลย หัดเล่นให้ได้ทุกๆ Key นะครับ
สังเกต ไหมครับว่า สูตร ตัวเลข กับ ชื่อ Chord ที่ตามหลังตัว เลขของทุกๆ Key จะเหมือนกันหมด
เพียงแต่เรา เปลี่ยนตัว อักษร ข้างหน้า ชื่อ Chord ก็ จะเปลี่ยนไป นะครับ ทำให้เรา คิดได้ง่าย
จำได้ง่าย เวลาผมเขียนต้นฉบับก็ ก๊อปปี้มา แล้วเปลี่ยน ตัวอักษร เอาเหมือนกัน
การฝึกการเรียนดนตรี มันก็คล้ายๆกันชีวิตจริงๆของเรานี่แหละ สนใจเขา ( Piano ) มาก เขาก็เห็นใจเรามาก
ทางเดินของคอร์ด Diatonic Chord วิธีเขียน Chord ของเพลงต่างๆ ก็เหมือนกับ
เราเดินทางไปสวนลุมฯนั้นแหละมันไปได้หลายทาง รถเมล์ แท็กซี่ ตุ๊กๆ รถไฟฟ้า รถใต้ดิน….
แถมอยากจะเดินไปก็ยังได้ ช้าหน่อยแต่ก็ถึงใช้ไหมครับ ทาง Chord ก็เหมือนกัน เลือกทางที่ดี
ฟังง่ายไปถึงเร็วเป็นอันว่าใช้ได้ เห็นเพลง Jazz ของฝรั่งเขา ออกมาแต่ละเพลง Chord ไม่เหมือนกัน
ก็เพราะว่า คนนี้ คิดว่าทางนี้ดี ไปเร็ว อีกคนก็คิดว่า ของฉันเร็วกว่า ( เป๋นจังซั้น เด๋อครับ )
เหมือนทางเข้าบ้านเราเองใช่ว่าจะเข้าได้แต่ ประตูหน้าบ้าน หลังบ้านก็เข้าได้ ปีนหน้าต่าง มุดใต้ถุน
หรือปีนหลังคาก็ยังเข้าได้ ( แต่ ระวังตัวหน่อย บ้านใครเป็นคอนโดหรือทาวเฮ้าท์ ยากสสส์…)
นี่เป็นเพียงเริ่มต้นนะครับ สมรภูมิ ยังอีกยาวนาน ( ไม่ใช่อยากได้ลูกหมี ไปเข้าถ้ำเสือนะ )
อ่านบทความที่ผมเขียนแล้วคิดอะไร ใหม่ๆขึ้นมาได้ บ้างไหมครับ ผมได้ปลุกวิญญาณ นัก Piano
ที่มีอยู่ในตัวของคุณ ขึ้นมา ได้หรือเปล่า อันที่จริง ในตัวของคนเรา ที่เขาเรียกว่า มนุษย์ ( Human )
รวมทั้ง สัตว์โลกทั้งหลาย จะมี พรสวรรค์ ที่พระเจ้า ให้มาทุกๆคน จะมีมาก หรือมีน้อย อาจจะไม่เท่ากัน
ถ้าหากมีน้อย กว่าคนอื่นเขา เราก็เพิ่ม พรแสวง ให้กับตัวเราเองให้ มากๆหน่อย ก็จะเท่าทัดเทียม
เหมือนเขาได้ พอได้เห็นได้อ่านแล้วไม่คิดสู้ จะถอย อย่างเดียวคงไม่ดีแน่เลย คิดดูซิครับ นักดนตรี
ระดับโลกทั้งหลาย ทั้งที่ยังมีชิวิตอยู่ หรือ ร่วงลับไปแล้ว เขาก็มี อวัยวะ มีหัว หู ตา จมูก แขนขา
เท่ากันกับเราเหมือนกัน ( เด้อ ) เขาทำได้ เราก็ต้องทำได้ ใช่ไหมครับ ( เติมเชื้อไฟเข้าไปอีก )
แต่ถ้า อ่านแล้วนอนไม่หลับเกิดประกายความคิดวิ่งอยู่ใน สมอง นั้นก็ให้รู้ว่า พรสวรรค์ของตัวเอง
เริ่มทำงานแล้ว ผมเป็นแต่เพียงผู้ปลุกเขา ขึ้นมาเท่านั้น ไม่ต้องตกใจกังวลอะไรนะครับ ผมจะบอกวิธีแก้ให้
เพราะผม เคยโดนมาแล้ว ภาษา กังฟู เขาเรียกว่า จุด หยิมต๊ก ของคุณ ทะลุปรุโปรงขึ้นมา กะทันหัน
( ว่าเข้าไป ) เมื่อก่อน มันเหมือนมีอะไรมาอุดตันอยู่ ตอนนี้คิดออกแล้ว ก็เลยพุ่งเหมือนน้ำพุ เลย
คุณจะไม่มีทางหยุดเขาได้ จะนอนไม่ค่อยจะหลับ หลับยาก ว่างั้นเถอะ ค่อยๆดูแล ประคับประคองเขาให้ดี
นะครับ ( อ๊ะ พูดเรื่องอะไร นิ )
ออกไปนอกบ้านไปดูดอกไม้ต้นไม้ อะไรก็ได้ ที่มีอยู่ รอบๆบ้านของเรา ดูแล้วคิดไปด้วยเพื่อหลอก
พรสวรรค์ที่อยู่ในตัวเรา ให้มาสนไจ อย่างอื่นชั่วครู่ ที่ผมพูดว่าชั่วครู่ ก็เพราะว่า คุณกลับเข้าไปในบ้าน
พรสวรรค์จะกลับมาในสมองอีกครับ เริ่มวางหลักการ ให้เขา เหมือนพูดกับตัวเอง ว่า วันนี้ อ่านตำรา 1 ชม.
ฝึก Piano 1 ชม. นะ ทุกๆคนจะมี อุปสัก ขวางกันเสมอ ที่สำคัญที่สุด อยู่ในตัวเรานั้นแหละ ในตัวเราเองทุกๆคน
จะมีความคิดหรือจิตวิญญาณอยู่ สองแบบ ผมจะเรียกว่า แบบ ดำ กับ ขาว หรือ ตัว ขยัน กับ ขี้เกียจ นะครับ
เคยสังเกต ตัวเราเองไหมครับว่า พอตัวขาว คิดว่าวันนี้ ตื่นเช้าเราจะวิ่งออกกำลัง ตัวดำ มันจะแทรกเข้ามาเลย
( เฮ้ยเมื่อคืนดูบอลดึกว๊ะ พรุ่งนี้ค่อยวิ่งก็ได้ ) ตัวขาว คิดจะทำอะไร ตัวดำ จะต้องออกมา รบกวนความคิด
ของเราตลอดเวลาเลย
วิธีแก้ แกล้งมันเลย ( มันคือตัวดำนะ ) ถ้าตัวขาวคิดว่า วันนี้ จะฝึก Piano สัก 1 ชม. และตัวดำ คิดว่า
( โอ๊ย วันนี้หนังซีรี่ย์ เกาหลีกำลังจะจบ พรุ่งนี้ก่อนค่อยฝึกก็ได้ ) ดึงปลั๊กทีวี ออกเลยไปนั่งฝึก Piano เพิ่ม 2 ชม.
เลย เรื่องอื่นๆก็ทำแบบนี้เหมือนกัน นานๆเข้า ตัวดำ ก็จะกลัวไปเอง มันเหนื่อยหน่อย แต่ดีสำหรับตัวเราครับผม
ข้อสำคัญที่สุดของตัวเรา ก็คือ การรู้จักตัวของเราเอง รู้จักหันมา สำรวจดู ตัวของเราเอง ถ้าหากเรายังไม่รู้จักหรือเข้าใจ
ตัวของเราเอง ไม่มีทาง ที่จะบังคับหรือสั่งการ อะไรได้เลยนะครับ ตามธรรมชาติ ของคน หรือ สัตว์โลก ทั้งหลาย
มักไม่ค่อยที่จะเข้าใจหรือชอบสำรวจดูตัวตน ของตัวเองนัก เพราะว่า พระเจ้า หรือสวรรค์ ประทาน จุด ดี จุด ด้อย
มาให้ไม่เท่ากัน แต่ละคนก็จะมี ดี มี ด้อย คนละอย่างเหมือนๆกัน ไม่มีใครได้เปรียบ เสียเปรียบกัน
ยกตัวอย่างเช่น เวลาเราไปมองดูนกเราจะเห็นว่า นกมีปาก มีสองหู สองตา สองขา….เหมือนกันกับเราแต่ไม่เห็นมี
มือกับนิ้วมือเลย จะกินจะดื่ม สู้เราไม่ได้ นิ
ข้างฝ่ายนกเขาก็จะมองดูเรา แล้วก็จะคิดว่าคนมีปาก มีสองหู สองตา สองขา….เหมือนเขา ( นก ) แต่ปีก
ไม่ยักกะมีขนเลยนิ ขนดันไปขึ้นที่ใต้โคนปีกนิดเดียว เลยบินไม่ได้เหมือน เรา ( นกที่บ้านผมเล่าให้ฟัง )
เห็นไหมครับ รู้แต่เรื่องของคนอื่นดีนัก แต่ตัวเองไม่รู้ไม่เคยคิดที่จะดูเลย เริ่มสำรวจดูตัวเราได้แล้วนะ
ว่ามีอะไรที่ทำไม่ได้อ่านโน้ตได้ไหม มือซ้าย ขวา วางนิ้วถูกหรือเปล่า ถ้าเราติดตรงไหน ไม่ได้
ที่ไหน ก็ฝึกเพิ่มตรงนั้น ว่ากันทีละอย่างไป ไม่ต้องกลัวหรือเกรงใจใครเขา เพราะเป็นมือของเราเอง
หนีไปไหนไม่ได้อยู่แล้ว
ตัวผมเอง เมื่อก่อนตอนที่อ่านตำราได้สองสามเล่ม คิดว่าตัวเองนี้ เก่ง คิดอะไร ทำอะไร ต้องตรงตาม
ขั้นตอน เป้ๆ เลย ใครมาพูด มาทำ มาบอก อะไรที่นอกเหนือจากตำรา ผมจะหัวชนฝาเลย เถียงไม่ยอมแพ้
ใครง่ายๆ ก็คงจะเอาหัวชนฝาบ่อยๆ หัวมันแข็งขึ้น กะลา มันถูกหัวผมชนมากๆ ก็เลยแตก ตัวผมถึงได้
หลุดออกมาจากกะลา พอหลุดออกมาจากกะลาได้ ผมถึงได้รู้ตัวว่า โธ่เอ๋ย กูนี่ ( โทษนะครับ ขอใส่อารมณ์ หน่อย )
วนอยู่แค่ใต้ถุนบ้านนี่เอง มองออกไปนอกบ้าน ไม่รู้จักอะไรเลย ( ตัวอะไรวะ )
เห็นไหมครับ ต้องเปิดใจให้กว่างๆ รับฟังสิ่งที่คนอื่นเขาพูดให้เราฟังบ้าง อย่าขีดเส้นวงกลม ให้เรายืน
ไปไหนไม่ได้ มันจะไม่เป็นธรรมชาติ ครับผม การเล่นดนตรี มันต้องออกมาจากจิตใจ ของเรา คนฟังถึงจะได้ อารมณ์
เอาละ ทีนี้ ลอง มองและสำรวจ ดูตัวของตัวเองได้แล้ว มองดูเข้าไปให้ถึงจิตใจข้างในของตัวเราเลย ว่ายังเชื่อ
ตัวดำ อยู่หรือเปล่า ( อย่าไปดูของ คนอื่นอีกนะ ) ผมอยากจะฝากข้อคิด ให้ทำตามที่ผมบอกนะครับ เริ่มตั้งแต่
ขั้นตอนที่ 1 ถึง ที่ 3 ต้องไปทำการบ้าน ให้ได้ทุกๆข้อ ทุกตอน เลยนะครับ อ่านอย่างเดียว ไม่มีผลอะไรเกิดขึ้น
กับตัวเราเอง มีแต่จะเริ่ม มึน งง เท่านั้น เหมือนการ ชกมวย อ่านจบเราเป็นได้แค่เพียง พี่เลี้ยง นักมวย เท่านั้น
เป็นนักมวย ยังไม่ได้ มองภาพ ออกไหมครับ
ทุกๆคำพูดของผมรวบรวมมาจากตำราดนตรีที่มีในโลกนี้เกือบ ครบทุกเล่ม หลายภาษา ใช้ Oxford ช่วยแปล
ย่อส่วน ลงมา เอาที่สำคัญ มาบอกเล่าให้ฟังใช้เวลา คิดวิธีการเรียนการสอน เกือบ 20 ปีนะครับผม
ปรกติผมสอน อะเร้นเจอร์ ด้วย จะอ่าน วันเดียวหรือสองสามวันไม่มีทางที่จะเข้าใจได้เลยถ้าหากไม่
ทำการบ้านและคิดพิจารณาตามไปด้วย ( ใช้สมองว่างั้นเถอะ ) ยังไม่พอต้องฝึกให้ได้ให้ชำนาญด้วยครับผม
หนังสือ บางเล่มอธิบายแค่ Key เดียวทั้งเล่มเลย ซึ่งผมว่ามัน ไม่จำเป็นต้องยาวขนาดนั้น เนื้อหาก็เป็นเพียง
ให้เราฝึกทำการบ้าน เท่านั้น ซึ่งเรามาฝึกเองก็ได้ บางเล่ม ก็พูดแต่เรื่องคำนิยามของ
ศัพท์ ดนตรี ว่ามาจากที่ไหน ใครเป็นคนคิด แล้วใครมาเปลี่ยน คำพูดนั้นเสียใหม่ วกไปวนมา
บางเล่มก็พูดไม่เหมือนกัน เพราะเขา แปลมาจากคนละภาษา Scale ดนตรี เปลี่ยน ไปเรื่อยๆ จนถึง เวลานี้
คือดนตรี เริ่มมีมา ตั้งแต่ปี ค ศ 400 พอถึงปี ค ศ1500 (1100 ปีเป็นดนตรี ในโบสถ์ของ ศาสนา…)
เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ บรรดา พวก Pro. ทั้งหลายมา ถกเถียงกัน กว่าจะตกลงกันได้ว่าต่อไปนี้
เอาอย่างนี้นะ ใช้เวลา เถียงกัน 100 ปีเต็มเริ่มใช้ของใหม่ เมื่อปี ค ศ1600 (โอ้โฮ..พวกเราเกิดหรือยังนิ)
ถึงเดี๋ยวนี้ก็เถอะ บางประเทศ ยังดื้อใช้ของเก่าอยู่เลย มันทำให้เราสับสน (เพราะเราเกิดไม่ทันอยู่แล้ว)
ค่อยๆอ่าน คำพูดของผม แล้วทำตาม ช้าๆไม่ต้องรีบร้อน และข้ามขั้นตอนเด็ดขาด ทุกๆขั้นตอน
มันจะต่อเนื่องกัน เหมือนขั้นบันได ข้ามตอนไหนไม่เข้าใจตอนไหน ก็จะขึ้นไม่ได้ ไปไม่ถูก ถามมาใน
E.Mail ของผมเป็นการส่วนตัวก็ได้ครับ boonpoj_k@hotmail.com ( ถามแบบอยากรู้จริงๆนะครับ )
ถ้าหาก เกิดความเครียด และหงุดหงิด มืนงง ผมมีวิธี คลายเคียด ซึงได้ผลจริงๆ ผมจะเล่าให้ฟัง เอาไปทำตามก็ได้นะ
มีอยู่วันหนึ่ง ( ค่อยเหมือน นิทานหน่อย *–* ) หลานสาว ของผม โทรฯ มาหาผมจากโคราช
พูดว่า คุณปู่น้องยีน ( กับปู่เขาชอบเรียกตัวเองว่าน้องยีน ) ไม่รู้เป็น อะไร เกิดความเครียด
และหงุดหงิดมาก หลายๆวันมาแล้ว ผมรู้สึกเหมือนมี สายฟ้า ผ่าลงมาในสมองผมเลย เพราะว่า หลานสาวคนนี้
เพิ่งจะทำบัตรประชาชน ผมถามว่า เรียนมากไปหรือเปล่า เขาพูดว่า ไม่ค่ะ ผมเลย พูดว่า เอาอย่างนี้นะ ลูก
เวลาไปถึงโรงเรียน ให้ไปหาที่นั่ง แล้ว มองดูเพื่อนๆที่เดินไป มา แล้วคอย สังเกตดูให้ดีว่า คนเรานี้
มีหน้าตาไม่เหมือนกันนะบางคน ตาโต บางคนก็ตาตี่ หูกาง หน้า กลม หน้าเหลียม จมูกแบน จมูกโด่ง อ้วน ผอม
ไม่เหมือน กันสักคนเลย ดูๆก็ตลกดีนะ ทำให้เราคลายเครียดได้ นะลูก
ผ่านไปสองสามวัน หลานสาวโทรฯมาหาอีก เสียงฟังดูรู้สึกได้ว่า รื่นเริงดี คุณปู่ น้องยีนหายเครียดแล้วแต่ว่า
( มีแต่ว่าอีก ) ผม ถาม แต่ว่า อะไร ลูก น้องยีนก็เล่าเรื่องที่คุณปู่แนะนำให้เพื่อนๆฟัง ใน ก๊วน จับกลุ่มกัน ไปนั่งดู
ดูไปนานๆ ขำกลิ้งเลย จริงๆนะคุณปู่ เพื่อนๆเขาหัวเราะกันเสียงดังเลย นานๆเข้า มีคนไปฟ้อง มาเซอ มาเซอ มาถาม
ว่า พวกเธอมาทำอะไรกันที่นี่ น้องยีนก็เล่า ให้ มาเซอ ฟัง ตามที่คุณปู่บอก มาเซอ พูดว่า คิดออกมาได้ยังไงนี่
แล้วเดินไป ไม่ว่าอะไรแต่หันมา พูดว่า อย่ามามองฉัน นะ ( คำสุดท้ายนี้ ผมพูดเอง ) จั๊กแล่ว
ผมไปหาดู ตำราสอน Jazz ของ N0AH BAERMAN ออกปี 1995 เขาก็เขียน บันไดคอร์ด
( Diatonic Chord ) Voice 4 ตัวเหมือน กัน แต่ไม่ได้อธิบายที่ไป ที่มา ของ บันไดคอร์ด ว่าเป็นมาอย่าง
และไม่มี ทางเดินของคอร์ดให้ ( Pattern ) แต่ที่หน้าสนใจ ก็คือเขาเอา Scales มาเขียนให้ดูว่า Scales โบราณ
ยังเอามาใช้อยู่ใน Style Jazz ( เขายังแอนตี้ Monk อยู่ ) ก็ไม่รู้จะจริงหรือเปล่า เพื่อนๆมีไครทราบเรื่อง
เอามาขยายต่อหน่อยนะ ครับ ผมจะเอามาเขียนเป็นตัวอย่างทุกๆ Scales ใน Key C ให้ดูนะครับ เป็น ภาษา
กรีก โบราณ ( Greek )
Ionian ( Major Scales ) Aeolian ( Minor Scales ) เราใช้อยู่เป็นประจำ
Major C D E F G A B C 1 2 3 4 5 6 7 1
Major Pentatonic C D E G A C มี 5 เสียง 1 2 3 5 6 1
Natural Minor C D Eb F G Ab Bb C 1 2 3b 4 5 6b 7b 1
Harmonic Minor C D Eb F G Ab B C 1 2 3b 4 5 6b 7 1
Minor Pentatonic C Eb F G Bb C มี 5 เสียง 1 3b 4 5 7b 1
Blues C Eb F Gb G Bb C มี 6 เสียง 1 3b 4 5b 5 7b 1
1. Ionian ( Major Scales ) C D E F G A B C 1 2 3 4 5 6 7 1
2. Dorian C D Eb F G A Bb C 1 2 3b 4 5 6 7b 1
3. Phrygian C Db Eb F G Ab Bb C 1 2b 3b 4 5 6b 7b 1
4. Lydian C D E F# G A B C 1 2 3 4# 5 6 7 1
5. Mixolydian C D E F G A Bb C 1 2 3 4 5 6 7b 1
6. Aeolian ( Minor Scales ) C D Eb F G Ab Bb C 1 2 3b 4 5 6b 7b 1
7. Locrian C Db Eb F Gb Ab Bb C 1 2b 3b 4 5b 6b 7b 1
เขาให้เรา ฝึกไล่นิ้ว Scales ที่ Ionian ถึง Locrian เอามาเป็นตัว Solo หรือ Melody ของทางเพลง Jazz
ได้ ผมลองไล่นิ้วดูแล้ว เข้าท่าดีเหมือนกันนะ ตกลงว่า กดนิ้วไปเรื่อยเปื่อย แต่ให้มีจังหวะออก Jazz
หน่อยก็ใช้ได้ อย่างนั้น หรือเปล่า เพราะว่ากดนิ้วไปมันก็ ต้องเจอ ไม่ Scales ใด ก็ Scales หนึ่ง
แต่มาคิดดูน่าจะเอาเป็นทีละ Scales เป็นท่อนๆไป เอามาปนกันทั้งเพลง คงไม่ดีแน่ๆ ผมพูดเอาเอง
Ionian หรือ Major Scales นั้น Melodic Scales กับ Harmonic Scales นั้นเขียนเหมือนกัน
Aeolian หรือ Minor Scales นั้น Melodic Scales กับ Harmonic Scales เขียนไม่เหมือนกัน
C Minor Melodic Scales C D Eb F G Ab Bb C 1 2 3b 4 5 6b 7b 8 ( 8=1)
จะเห็นว่า ตัวที่ 2,3 กับ 5,6 ห่างกัน ครึ่งเสียง (1 Semitone ) ซึ่งไม่เหมือนกันกับ
Major 3,4, กับ 7,8 ห่างกัน ครึ่งเสียง (1 Semitone )
C Minor Harmonic Scales C D Eb F G Ab B C 1 2 3b 4 5 6b 7 8 ( 8=1)
จะเห็นว่า ตัวที่ 2,3 กับ 5,6 ห่างกัน ครึ่งเสียง (1 Semitone )6,7 ห่างกันเสียงครึ่งหรือ 3 Semitone
7,8 ห่างกันครึ่งเสียง หรือ 1 Semitone
แต่ A MUSIC COURSE For Students ของ Parry Williams เขียนไว้ว่า
Minor Melodic Scales ไล่เสียงจาก ต่ำขึ้นไปสูง Ascending
C D Eb F G A B C 1 2 3b 4 5 6 7 8 ( 8=1)
แล้วยังให้ใช้ Ascending เป็น Minor Harmonic Form ด้วยครับ
Minor Melodic Scales ไล่เสียงจาก สูงลงมาต่ำ Descending
C Bb Ab G F EbD C 8 7b 6b 5 4 3b 2 1 ( 8=1)
ลองกดฟังสียงจาก Piano นะครับ ก็เลยไม่รู้จะเอาของใครดี เอามาเขียน ให้ดู เฉยๆ ถ้าใคร จะเอาไปฝึก
ก็ไม่ว่ากันนะครับผม
ใน Scales C Major ของ NOAH BAERMAN
วิธีจำชื่อของ Scales ง่ายๆ เมื่อเอามาเที่ยบกับ Diatonic Chord ( บันได คอร์ด )
1. CMajor7 C D E F G A B C ( ไล่นิ้วจาก C – C คือ C Ionian ) โด เร มี ฟา ซอล ลา ทรี โด
2. Dm7 D E F G A B C D ( ไล่นิ้วจาก D – D คือ D Dorian ) เร มี ฟา ซอล ลา ทรีโ ด เร
3. Em7 E F G A B C D E ( ไล่นิ้วจาก E – E คือ E Phrygian ) มี ฟา ซอล ลา ทรี โ ด เร มี
4. FMajor7 F G A B C D E F ( ไล่นิ้วจาก F – F คือ F Lydian ) ฟา ซอล ลา ทรี โด เร มี ฟา
5. G7 G A B C D E F G ( ไล่นิ้วจาก G – G คือ G Mixolydian ) ซอล ลา ทรี โด เร มี ฟา ซอล
6. Am7 A B C D E F G A ( ไล่นิ้วจาก A – A คือ A Aeolian ) ลา ทรี โด เร มี ฟา ซอล ลา
7. Bm7b5 B C D E F G A B ( ไล่นิ้วจาก B – B คือ B Locrian ) ทรี โด เร มี ฟา ซอล ลา ทรี